อิทธิพลของฤดูกาล

        ฤดูกาล (Seasons) เกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนของโลกเอียง 23.5° ในฤดูร้อนโลกเอียงขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาว หกเดือนต่อมาโลกโคจรไปอยู่อีกด้านหนึ่งของวงโคจร โลกเอียงขั้วใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ (แกนของโลกเอียง 23.5° คงที่ตลอดปี) ทำให้ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูร้อน และซีกโลกเหนือกลายเป็นฤดูหนาว ดังแสดงในภาพที่ 1 

ภาพที่ 1 แกนของโลกเอียงขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

        แนวปะทะอากาศยกตัวเขตร้อน” (Intertropical Convergence Zone หรือ ICTZ) เกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมฉาก จึงทำให้อุณหภูมิอากาศของโลกในส่วนนั้นมีอุณหภูมิสูง จึงยกตัวและควบแน่นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากแกนหมุน

ของโลกเอียง 23.5° ขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงทำให้ ITCZ เคลื่อนที่ไปอยู่ที่ละติจูด 23.5° เหนือ ในวันที่ 20 - 21 มิถุนายน (Summer Soltice) และเคลื่อนที่ไปอยู่ที่ละติจูด 23.5° ใต้  ในวันที่ 20 - 21 ธันวาคม (Winter Soltice) ดังในภาพที่ 2  เราสามารถพูดอย่างง่ายๆ ว่า  ICTZ คือ บริเวณที่ดวงอาทิตย์มีโอกาสอยู่ตรงเหนือศีรษะ ซึ่งอยู่ระหว่างละติจูด 23.5° เหนือ และละติจูด  23.5° ใต้ และมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเขตศูนย์สูตร  

ภาพที่ 2 การเคลื่อนที่ของ ITCZ เนื่องจากฤดูกาล

        การเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและการเคลื่อนตัวของ ITCZ ทำให้เกิดการกระจายความร้อนบนพื้นผิวโลก และมีผลต่อลมฟ้าอากาศดังนี้

ภาพที่ 4 หมอกแดด ซึ่งเกิดจากละอองอากาศ (ใต้ฐานเมฆคิวมูลัส)