การแผ่รังสี

        เป็นที่ทราบกันดีว่า เรามองเห็นวัตถุเนื่องจากวัตถุได้รับรังสีแล้วสะท้อนเข้าดวงตาของเรา ทว่าความจริงแล้วทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนี้แผ่รังสีออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีทั้งคลื่นที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้หรือมองไม่เห็น ทั้งนี้ความยาวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่รังสีออกมาขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิของวัตถุต้นกำเนิด ยกตัวอย่างเช่น หากเราวางแท่งโลหะไว้ในห้องที่มืดสนิท เราก็จะมองไม่เห็นมัน แต่ถ้าเราเปิดหน้าต่างให้แสงภายนอกส่องมากระทบมันแล้วสะท้อนเข้าตาเรา เราก็จะมองเห็นมัน การเห็นด้วยวิธีนี้ไม่ใช่การแผ่รังสีแต่เป็นการสะท้อนแสง แต่เมื่อเราเอาแท่งโลหะมาเผาไฟด้วยแก๊สร้อน ก็จะเห็นว่าโลหะค่อยๆ เปล่งแสงสีแดงออกมา และเปลี่ยนเป็นสีส้ม สีเหลือง สีฟ้า และสีน้ำม่วง เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามลำดับ  

ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและการแผ่รังสีของแก๊ส

        ภาพที่ 1 แสดงกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและการแผ่รังสีของแท่งโลหะดังนี้ 

        หมายเหตุ: ในการมองดูดาวฤกษ์บนท้องฟ้าก็เช่นเดียวกัน ดาวฤกษ์ทั้งหลายบนท้องฟ้าแผ่รังสีต่างชนิดขึ้นอยู่กับอุณหภูมิพื้นผิว เรามองเห็นดาวฤกษ์เป็นสีต่างๆ ในช่วงแสงที่ตามองเห็น อย่างไรก็ตามเรามองไม่เห็นดาวสีม่วง เนื่องจากสีม่วงกลมกลืนกับอวกาศสีดำ  เรามองดาวไม่เห็นดาวสีเขียว เนื่องจากแสงสีเขียวอยู่กึ่งกลางสเปกตรัมพอดี เรามองเห็นดาวสีเขียวเป็นดาวสีขาวแทน เพราะว่าแสงทุกสีรวมกันเป็นแสงสีขาว 

กฎของวีน (Wien's law)

        การอธิบายในเชิงฟิสิกส์ อุณหภูมิหมายถึงระดับพลังงานภายในอะตอม สสารทุกชนิดในจักรวาลมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 เคลวิน (-273°C) เนื่องจากอะตอมมีพลังงาน อะตอมประกอบด้วยอิเล็กตรอนหมุนรอบนิวเคลียส สภาวะที่อุณหภูมิ 0 เคลวิน เป็นสภาวะไร้พลังงานและทุกอย่างหยุดนิ่ง ซึ่งเป็นสภาวะที่ยังไม่มีการค้นพบ  ในปี ค.ศ.1893 วิลเฮล์ม วีน (Wilhelm Wien) นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ค้นพบว่า อุณหภูมิของสสารแปรผกผันกับการแผ่คลื่นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตามสูตร 

             λmax = 0.0029 / T 

        โดยที่ λmax  หมายถึง ความยาวคลื่นเข้มสุดของการแผ่รังสี มีหน่วยเป็นเมตร (m) 

                   T     หมายถึง อุณหภูมิของวัตถุ มีหน่วยเป็นเคลวิน (K)

ตัวอย่างที่ 1: ดวงอาทิตย์แผ่รังสีที่มีความยาวคลื่นเข้มสุด 500 นาโนเมตร อยากทราบว่า ดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยเท่าไร 

          λmax  = 0.0029 / T 

           T       = 0.0029 / λmax

                    = 0.0029 / (500 x 10-9 m) 

                    = 5,800 K

ตัวอย่างที่ 2: โลกแผ่รังสีอินฟราเรดขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งความยาวคลื่นเข้มสุด 10,069 นาโนเมตร อยากทราบว่า โลกมีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยเท่าไร 

          λmax  = 0.0029 / T 

           T       = 0.0029 / λmax

                    = 0.0029 / (10 x 10-6 m) 

                    = 288 K หรือ 15°C

ภาพที่ 2 กราฟแสดงรังสีจากดวงอาทิตย์และโลก

ตัวอย่างที่ 3: ร่างกายมนุษย์มีอุณหภูมิ 37°C หรือ 410 K  อยากทราบว่า ร่างกายมนุษย์แผ่รังสีในช่วงคลื่นอะไร 

          λmax  = 0.0029 / T 

                    = 0.0029 / 410  

                    = 7.07 x 10-6 m หรือประมาณ​ 7 ไมโครเมตร ซึ่งอยู่ในย่านรังสีอินฟราเรด 

ภาพที่ 3 ภาพสีเทียม (False color) แสดงรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกมาจากร่างกาย

         เราสามารถสรุปกฎของวีน (Wein's law) ได้ว่า วัตถุอุณหภูมิสูงแผ่รังสีคลื่นสั้น วัตถุอุณหภูมิต่ำแผ่รังสีคลื่นยาว  รังสีที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงที่ตามองเห็น เรียกว่า คลื่นสั้น เป็นอันตรายต่อมนุษย์  รังสีที่มีความยาวคลื่นมากกว่าแสงที่ตามองเห็นเรียกว่า คลื่นยาว ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ อย่างไรก็ตามไม่ว่ารังสีจะมีความยาวคลื่นเท่าไร หากมีความเข้มสูงก็จะทำให้วัตถุที่ดูดกลืนรังสีนั้นๆ มีอุณหภูมิสูงขึ้นได้ เช่น รังสีอินฟราเรดทำให้โลกร้อน  เตาไมโครเวฟสามารถทำให้น้ำเดือด 

        ตัวอย่างแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและเกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์ ได้แก่ 

        หมายเหตุ: รังสีคอสมิค (Cosmic rays) ไม่ใช่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แต่เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีอยู่ทั่วไปในอวกาศ ซึ่งสามารถเดินทางทะลุผ่านโลกและร่างกายสิ่งมีชีวิต