จักราศี


โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 1 ปี  ทำให้ตำแหน่งปรากฎของดวงอาทิตย์ผ่านหน้ากลุ่มดาวในแนวสุริยวิถีดังภาพที่ 1  ยกตัวอย่าง ในเดือนมิถุนายนดวงอาทิตย์อยู่หน้ากลุ่มดาวคนคู่ (ราศีเมถุน)  หนึ่งเดือนต่อมาเรามองเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ในทิศทวนเข็มนาฬิกาไป 30°  อยู่หน้ากลุ่มดาวปู (ราศีกรกฏ) ซึ่งอยู่ถัดไป 30° เช่นกัน  เราเรียกกลุ่มดาวซึ่งบอกตำแหน่งดวงอาทิตย์ในแต่ละเดือนว่า “จักราศี” (Zodiac)  ผู้คนในสมัยก่อนใช้กลุ่มดาวจักราศีเป็นปฏิทินในการกำหนดเดือน โดยการเปรียบเทียบตำแหน่งของดวงอาทิตย์กับตำแหน่งของกลุ่มดาวจักราศีบนทรงกลมฟ้า  โดยถือเอาเส้นสุริยวิถีเป็นเส้นรอบวง 360° หารด้วยจำนวนกลุ่มดาวประจำราศีทั้ง 12 กลุ่ม ซึ่งห่างกันกลุ่มละ 30° (30° x 12 = 360°)

ภาพที่ 1 ตำแหน่งของดวงอาทิตย์หน้ากลุ่มดาวจักราศี

ถ้าแกนหมุนของโลกตั้งฉากกับระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์  เส้นศูนย์สูตรฟ้ากับเส้นสุริยวิถีจะเป็นเส้นเดียวกัน และเราจะเห็นดวงอาทิตย์และกลุ่มดาวจักราศีอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้าตลอดเวลา  ทว่าในความเป็นจริง แกนของโลกเอียง 23.5° กับแนวตั้งฉากระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์   เราจึงเห็นกลุ่มดาวจักราศีเรียงตัวอยู่บนเส้นสุริยวิถี ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือหรือใต้ เป็นระยะเชิงมุมไม่เกิน 23.5°  ดังภาพที่ 2 และ 3  

ภาพที่ 2  ระนาบสุริยวิถี

ภาพที่ 3 กลุ่มดาวจักราศี

ทั้งนี้ หากเราเปรียบเทียบจุดต่างๆ กับตำแหน่งกลุ่มดาวจักราศีในแผนที่ดาวจะพบว่า