ดาวเคราะห์แคระ

        ในปัจจุบันเทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์ก้าวหน้ามาก มีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่บนพื้นโลก และส่งกล้องโทรทรรศน์ขึ้นไปอยู่ในอวกาศเพื่อให้ได้ภาพชัดไม่มีอุปสรรคจากอากาศ นอกจากนั้นยังมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุขนาดเล็กที่มีอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้มีการค้นพบวัตถุในแถบคอยเปอร์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโตเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ซีนา เอริส เซดนา วารูนา เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเราจะนับวัตถุพวกนี้เป็นดาวเคราะห์ด้วย ระบบสุริยะของเราจะมีดาวเคราะห์หลายสิบดวง  ดังนั้นในปี พ.ศ.2549 สมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) จึงประกาศนิยามใหม่ของดาวเคราะห์และวัตถุที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 

        

        1. ดาวเคราะห์ (Planet) หมายถึง เทหวัตถุที่มีสมบัติต่อไปนี้

        2. ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) หมายถึง เทหวัตถุที่มีสมบัติดังต่อไปนี้ครบถ้วน  

        3. วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar-System Bodies) หมายถึง เทหวัตถุอื่นๆ นอก

เหนือจากที่กล่าวไปแล้ว          

ภาพที่ 1 ดาวเคราะห์แคระที่พบในแถบคอยเปอร์ (ที่มา: NASA, JPL)

        ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดาวพลูโตถูกลดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากมีวงโคจรเป็นรูปวงรีบางส่วน ซ้อนทับวงโคจรของดาวเนปจูน  ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดคือดาวซีรีสถูกยกระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ เพราะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีรูปร่างทรงกลมดังภาพที่ 2

ภาพที่ 3 วงโคจรของดาวเอริส (2003UB313) เปรียบเทียบกับดาวพลูโต 

(ที่มา: http://web.gps.caltech.edu/~mbrown/planetlila)

ตารางที่ 1 รายชื่อดาวเคราะห์แคระขนาดใหญ่ 

(ที่มา: http://web.gps.caltech.edu/~mbrown/dwarfplanets)

ภาพที่ 2 เปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์แคระกับโลกและดวงจันทร์ 

(ที่มา: NASA, JPL)

        หากพิจารณาดูจะพบว่า ดาวเคราะห์แคระตามนิยามใหม่นั้นมี 2 ประเภท คือ ดาวเคราะห์แคระที่เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น ซีรีส เวสตา พัลลาส มีวงโคจรอยู่ในแถบเข็มขัดดาวเคราะห์น้อยระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี และดาวเคราะห์แคระที่เป็นวัตถุไคเปอร์ซึ่งถูกเพิ่งค้นพบใหม่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโต และมีวงโคจรถัดจากดาวเนปจูนออกไป ดังภาพที่ 3