กิจกรรมดูดาว

     

วัตถุประสงค์

เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องทิศ การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า ทำความรู้จักกลุ่มดาวสว่าง สังเกตการณ์ดาวเคราะห์ และเทห์วัตถุท้องฟ้าประเภทต่างๆ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมดูดาว


ช่วงเวลาที่เหมาะสม

ฤดูหนาวเป็นฤดูที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดูดาว ช่วงเวลาที่ดีที่สุดอยู่ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – มกราคม หลังจากนี้ไปจนถึงก่อนสงกรานต์ ท้องฟ้าก็ยังโปร่งไม่มีเมฆ แต่จะมีหมอกแดด ซึ่งเกิดจากการเผาป่าและไร่นา  หลังจากสงกรานต์เป็นต้นไปเป็นช่วงฤดูฝน ฟ้าเปิดเป็นหย่อมๆ ดูดาวได้บ้างเป็นบางส่วแต่มีเมฆลอยผ่าทำให้ไม่สะดวกต่อการดูเป็นกลุ่มดาว อย่างไรก็ตามหลังจากฝนตก ถ้าไม่มีเมฆแผ่นท้องฟ้าจะใสมาก เพราะน้ำฝนชะล้างฝุ่นในบรรยากาศลงมาหมด ช่วงเดือนสิงหาคม – กลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ไม่ควรจัดกิจกรรมดูดาวเลย เนื่องจากท้องฟ้าปิด มีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และมีฝนตกแทบทุกวัน


สถานที่

อุปสรรคที่สำคัญของการดูดาวคือ แสงรบกวน สถานที่ที่เหมาะสมกับการดูดาว ควรจะอยู่ในชนบท ภูเขา หรือชายทะเล ควรออกห่างจากเมืองใหญไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร  อย่างไรก็ตามในเมืองใหญ่สามารถมองเห็นกลุ่มดาวสว่าง ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ และดาวคู่ได้ แต่ไม่สามารถมองเห็น ทางช้างเผือก กาแล็กซี หรือเนบิวลา เนื่องจากเทห์วัตถุจำพวกนี้มีแสงจาง กลืนไปกับความสว่างของท้องฟ้าที่มีมลภาวะทางแสง  นอกจากนั้นแล้วบริเวณที่จะทำกิจกรรม ควรเป็นที่โล่งกว้าง มองเห็นขอบฟ้าได้ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทิศเหนือ ในการจัดที่นั่งเป็นหมู่คณะ ควรให้ผู้ชมหันหน้าไปทางทิศเหนือ (ถ้ามีการตั้งจอสไลด์ ก็ควรติดตั้งอยู่ทางทิศเหนือเช่นกัน) เพื่อให้สามารถสังเกตการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า จากทิศตะวันออก ไปยังทิศตะวันตก (การหมุนรอบตัวเองของโลก) แต่หากมีข้อจำกัดด้านทิศเหนือ ให้เลือกหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพื่อที่ผู้ชมจะได้เห็นกลุ่มดาวเคลื่อนที่ขึ้นมาตรงหน้า และข้ามศีรษะไปตกด้านหลัง


การวางแผน

การจัดกิจกรรมดูดาวที่ดีต้องมีการวางแผนล่วงหน้าว่าคืนนั้นจะมีอะไรให้ชม ดวงจันทร์ขึ้น-ตกเวลาใด ช่วงหัวค่ำมีดาวเคราะห์ หรือ เทห์วัตถุที่น่าสนใจอะไรบ้าง ช่วงก่อนรุ่งเช้ามีเทห์วัตถุใด ที่คุ้มค่า ต่อการตื่นขึ้นมาดูบ้าง จงพยายามหลีกเลี่ยงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เพราะดวงจันทร์จะขึ้นทันทีหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้น และตกตอนรุ่งเช้าเมื่อฟ้าสาง ฉะนั้นคืนทั้งคืนจะเต็มไปด้วยแสงจันทร์ บดบังทางช้างเผือก กาแล็กซี และเนบิวลาทั้งหลาย

การดูดาวไม่จำเป็นต้องเป็นคืนเดือนแรม 15 ค่ำ เพราะผู้ชมส่วนมากไม่เคยเห็นดวงจันทร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ และดวงจันทร์ก็มิได้สว่างตลอดทั้งคืน ในช่วงข้างขึ้น ดวงจันทร์จะปรากฏให้เห็นตอนเย็น ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปวันละประมาณ 50 นาที และจะขึ้นประมาณหกโมงเย็นพอดี ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ส่วนช่วงข้างแรม ดวงจันทร์จะปรากฏให้เห็นในตอนเช้า การวางแผนเวลาการขึ้น-ตกของดวงจันทร์และวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจนั้น สามารถใช้ซอฟต์แวร์ดาราศาสตร์ เช่น Stellarium ส่วนการประเมินสภาพลมฟ้าอากาศ สามารถดูได้จากภาพถ่ายดาวเทียม ในเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาที่ http://www.tmd.go.th เอกสารประกอบความรู้ และแผนที่ดาว สามารถดาวน์โหลดที่ lesa.biz


การดำเนินกิจกรรม 

สิ่งแรกที่ต้องทำความตกลงกับนักเรียนคือ งดการใช้ไฟฉาย เพื่อให้โอกาสแก่ดวงตาของเราสร้างเซลล์ไวแสงสำหรับการมองภาพกลางคืน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที ถ้าแสงไฟเข้าตา เซลล์สำหรับมองกลางวันจะทำงานอยู่ตลอดเวลา และเราก็จะมองไม่เห็นรายละเอียดของกลุ่มดาว การดำเนินกิจกรรมควรเรียงลำดับ ดังนี้


การสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ 

ควรแนะนำให้นักเรียนได้รู้จัก เทห์วัตถุชนิดต่างๆ อาทิเช่น กระจุกดาว เนบิวลา และกาแล็กซี ควรมีการแนะนำตำแหน่งเมื่อมองดูด้วยตาเปล่าด้วย เทห์วัตถุที่ควรจะแนะนำให้นักเรียนสังเกต มีดังนี้