การเคลื่อนที่ของทรงกลมฟ้าในรอบปี


โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นทรงกลมฟ้าเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เร็วขึ้นวันละ 1 องศา  ยกตัวอย่าง ถ้าเราตื่นขึ้นมาดูดาวเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก เวลา 6.00 น.ทุกวัน เราจะมองเห็นดาวดวงเดิมอยู่สูงขึ้นกว่าเดิมวันละ 1 องศา ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยใช้หลักการง่ายๆ ดังนี้ 

ด้วยหลักการนี้เอง เราจึงมองเห็นกลุ่มดาวจักราศีบนทรงกลมฟ้าเปลี่ยนไปเดือนละราศี (30 วัน ประมาณ 30° ) ดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ตำแหน่งของกลุ่มดาวจักราศีในรอบปี

ตัวอย่าง: วันที่ 1 มกราคม กลุ่มดาวนายพรานขึ้นเวลา 18.30 น. อยากทราบว่า ในเวลาเดียวกันของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพรานจะสูงเหนือขอบฟ้ากี่องศา 

        ใน 1 วัน ตำแหน่งของดาวเปลี่ยนแปลง 360°  / 365 ประมาณ 1° 

        ดังนั้น 31 วัน ตำแหน่งของดาวเปลี่ยนแปลง = 1°  x 31 = 31°  

        เพราะฉะนั้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 18.30 น. กลุ่มดาวนายพรานจะสูงเหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก 31° 

ภาพที่ 2 ตำแหน่งของกลุ่มดาวนายพรานเปลี่ยนแปลงใน 31 วัน