น้ำทะเล
น้ำทะเลมีรสเค็มเนื่องจากมีเกลือซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ปะปนอยู่ในรูปของสารละลาย น้ำทะเล 1 ลิตร (1,000 กรัม) มีเกลืออยู่ 35 กรัม ในบริเวณที่น้ำทะเลอุณหภูมิสูง เช่น ใจกลางมหาสมุทรบริเวณเส้นศูนย์สูตร แสงแดดมีความเข้มสูงทำให้น้ำในมหาสมุทรระเหยเป็นไอน้ำทิ้งแร่ธาตุที่ตกค้างไว้ในทะเล น้ำทะเลจึงมีความเค็มมาก แต่ในที่หนาวเย็นที่บริเวณขั้วโลก แสงแดดตกกระทบพื้นผิวโลกเป็นมุมเฉียงจึงมีพลังงานน้อย ปริมาณการระเหยของน้ำทะเลย่อมน้อยตามไปด้วยจึงมีความเค็มไม่มาก ในบริเวณใกล้ปากแม่น้ำมีความเค็มน้อยเนื่องจากอิทธิพลของน้ำจืดจากแม่น้ำลำคลองทำให้น้ำทะเลเจือจาง
เกลือในมหาสมุทรมีกำเนิดมาจากแร่ธาตุบนพื้นโลก น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี น้ำฝนละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศทำให้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ น้ำที่อยู่บนพื้นโลกละลายแร่ธาตุในหินและดิน ไหลรวมกันเป็นแม่น้ำลำธารไปสะสมกันในมหาสมุทร สารละลายเกลือเหล่านี้อยู่เป็นประจุของแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ประจุโซเดียม (Na+) และประจุคลอไรด์ (Cl-) เมื่อน้ำระเหยออกไปประจุเหล่านี้รวมตัวกันเป็นสารประกอบ ได้แก่ เกลือแกง (NaCl) และเกลืออื่นๆ ดังต่อไปนี้