การเคลื่อนที่ของทรงกลมฟ้าในรอบปี
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้เรามองเห็นทรงกลมฟ้าเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก เร็วขึ้นวันละ 1 องศา ยกตัวอย่าง ถ้าเราตื่นขึ้นมาดูดาวเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก เวลา 6.00 น.ทุกวัน เราจะมองเห็นดาวดวงเดิมอยู่สูงขึ้นกว่าเดิมวันละ 1 องศา ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยใช้หลักการง่ายๆ ดังนี้
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 1 ปี หรือ 365 วัน
1 ปี ตำแหน่งของดาวเปลี่ยนแปลง 360° (RA มุมที่ทำกับขั้วฟ้า)
1 วัน ตำแหน่งของดาวเปลี่ยนแปลง 360° / 365 หรือประมาณ 1°
ด้วยหลักการนี้เอง เราจึงมองเห็นกลุ่มดาวจักรราศีบนทรงกลมฟ้าเปลี่ยนไปเดือนละราศี (30 วัน ประมาณ 30° ) ดังแสดงในภาพที่ 1