ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player
ที่มา: Earth and Environmental Sciences, University of Kentucky
วิธีใช้:
กดปุ่ม Next ด้านบน 5 ครั้ง จนแสดงหน้า Crust-Mantle Boundary
กดปุ่ม Start Earthquake สีน้ำเงิน ด้านซ้ายบน เพื่อสาธิตการเดินทางของคลื่น
จับตาดูการเดินทางของคลื่นไหวสะเทือน ทั้งด้านบนและด้านล่างของแนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิก (เส้นแบ่งเขต Crust และ Mantle) เพื่อเปรียบเทียบความเร็ว
กดปุ่ม Next เพื่อดูกราฟความเร็วของคลื่นของคลื่นไหวสะเทือน
คำอธิบาย:
แนวแบ่งเขตระหว่างเปลือกโลก (Crust) และ เนื้อโลกชั้นบนสุด (Uppermost mantle) เรียกว่า แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิก (Mohorovicic) หรือเรียกสั้นๆ ว่า โมโฮ (Moho) ชื่อนี้ตั้งขึ้นเป็นเกียรติให้แก่นักธรณีวิทยาชาวยูโกสลาเวีย เมื่อปี ค.ศ.1909 ผู้ค้นพบว่า คลื่นไหวสะเทือนจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่เขตเนื้อโลก เนื่องจากความหนาแน่นของวัสดุมากขึ้น
ในภาพเคลื่อนไหวน่ี้จะเห็นได้ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว คลื่นที่เดินทางลงผ่านแนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิกเข้าสู่ขั้นเนื้อโลก (ทางด้านขวามือ) จะเดินทางได้เร็วกว่าคลื่นที่เดินทางบนเปลือกโลก แม้ว่าจะต้องเดินทางโดนอ้อมเป็นระยะทางยาวกว่า เส้นทางเดินบนเปลือกโลกก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อโลกมีความหนาแน่นกว่าเปลือกโลก คลื่นจึงเดินทางได้เร็วกว่า