รหัสวิชา: iAstro 1
รายวิชา: ทรงกลมฟ้าและระบบสุริยะ
ภาคการศึกษา: ต้น
ผู้สอน: นาวาอากาศเอกฐากูร เกิดแก้ว
ผู้ช่วยสอน: นางสาวอรญา อำนาจเจริญพร
เจ้่าหน้าที่กราฟิก: นางสาวกีรติกา สุขศรีทอง
เงื่อนไขรายวิชา: ไม่ต้องมีวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน
ชื่อหลักสูตร: การอบรมสาระการเรียนรู้ดาราศาสตร์และอวกาศผ่านอินเทอร์เน็ต
จำนวนชั่วโมงเรียน: 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
เนื้อหารายวิชา:
10101 ทรงกลมฟ้า
10102 กลุ่มดาว
10103 จักราศี
10104 การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์
10105 กฎเกี่ยวกับวงโคจร
10106 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
10107 ดวงอาทิตย์
10108 ดาวเคราะห์
10109 วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
10110 กล้องโทรทรรศน์
10111 ดูดาวภาคสนาม
การวัดผลการเรียน:
- งานที่มอบหมาย 50%
- คำถามท้ายบทเรียน 50%
คำอธิบายรายวิชา
ทรงกลมฟ้า (10101)
มุมทิศและมุมเงย เส้นสมมติบนทรงกลมฟ้า การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าเนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง
กลุ่มดาว (10102) ความหมายของกลุ่มดาว การสังเกตกลุ่มดาวสว่าง แผนที่ดาววงกลม ซอฟต์แวร์ท้องฟ้าจำลอง
สุริยวิถี (10103)
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า สุริยวิถีและกลุ่มดาวจักราศี การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าเนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความแตกต่างระหว่างดาวฤกษ์และดาวเคราะห์
การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ (10104)
นิยามของดาวเคราะห์ ความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อจักรวาล ศูนย์กลางของระบบสุริยะ การค้นพบของกาลิเลโอ
กฎเกี่ยวกับวงโคจร (10105)
กฎของเคปเลอร์ กฎของนิวตัน กฎความโน้มถ่วงของเอกภพ แรงดึงดูดระหว่างดวงดาว ความสัมพันธ์ระหว่างมวลสารและความโค้งของอวกาศ
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ (10106)
กลางวันกลางคืน, ฤดูกาล, สุริยุปราคา, จันทรุปราคา, ข้างขึ้นข้างแรม และ น้ำขึ้นน้ำลง
ดวงอาทิตย์ (10107)
กำเนิดระบบสุริยะ โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์ ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็ก และลมสุริยะ
ดาวเคราะห์ (10108)
การจำแนกประเภทดาวเคราะห์ คุณสมบัติทางกายภาพของดาวเคราะห์แต่ละดวง
วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (10109)
ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต
กล้องโทรทรรศน์ (10110)
หลักการของกล้องโทรทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์ประเภทต่างๆ ระบบขาตั้งกล้องโทรทรรศน์
ดูดาวภาคสนาม (10111)
ดูดาวภาคปฏิบัติ ฝึกการใช้แผนที่ดาวและกล้องโทรทรรศน์ สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์