พายุลมงวง
พายุลมงวง เป็นอากาศร้ายรุนแรงที่สุดซึ่งเกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง เมื่อลมร้อนและลมเย็นมาเจอกันและก่อตัวให้เกิดลมหมุนด้วยความเร็วประมาณ 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมีลักษณะการหมุนบิดเป็นเกลียว เป็นลำเหมือนงวงช้างยื่นออกมาจากฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 เมตร โดยที่เมฆคิวมูโลนิมบัส 1 ก้อน อาจทำให้เกิดลมงวงได้พร้อมๆ ทีละหลายงวง ลมงวงสามารถดึงดูดทุกสิ่งที่อยู่ตามเส้นทางที่พายุเคลื่อนที่ไป พายุลมงวงมักจะเกิดในที่ราบกว้างใหญ่ ถ้าเกิดขึ้นในพื้นที่ราบตอนกลางประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกว่า "พายุทอร์นาโด" (Tornado) ซึ่งแบ่งระดับความรุนแรงตามความเร็วลม 5 ลำดับโดยยึดตาม Fujita scale ดังนี้
พายุ F0 ความเร็วลม 64 - 116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F1 ความเร็วลม 117 - 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F2 ความเร็วลม 181 - 253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F3 ความเร็วลม 254 - 332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F4 ความเร็วลม 333 - 418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F5 ความเร็วลม 419 - 512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาพท่ี 1 พายุทอร์นาโด
พายุลมงวงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มีลักษณะเป็นพายุลมงวงขนาดเล็กเกิดขึ้นเหนือพื้นน้ำเรียกว่า "นาคเล่นน้ำ" (Water sprouts) เกิดจากเมฆพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงที่มีฐานเมฆต่ำและมีกระแสอากาศไหลลงรุนแรง จนเกิดเมฆเป็นลำพวยพุ่งลงมาจนใกล้ผิวทะเล และดูดน้ำจนเป็นลำพุ่งขึ้นไปรวมตัวกับก้อนเมฆในอากาศ เช่นเดียวกับพายุทอร์นาโด นาคเล่นน้ำมักเกิดขึ้นหลายๆ งวงพร้อมๆ กันจากฐานเมฆคิวมูโลนิมบัสก้อนเดียวกัน
ภาพท่ี 2 นาคเล่นน้ำ