ความรุนแรงของแผ่นดินไหว

มาตราเมอร์คัลลี      

      แผ่นดินไหวแต่ละครั้งมีความรุนแรงไม่เท่ากัน บางครั้งไม่สามารถรู้สึกได้ แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น อาคารถล่ม ถนนขาด แผ่นดินทรุด ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ระบบวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ มาตราเมอร์คัลลี (Mercalli scale) ซึ่งกำหนดจากความรู้สึกหรือการตอบสนองของผู้คนโดยจำแนกได้ดังนี้ 

        I     มนุษย์ไม่รู้สึก ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือ

        II    รู้สึกได้เฉพาะกับผู้ที่อยู่นิ่งกับที่ สิ่งของแกว่งไกวเล็กน้อย 

        III   คนอยู่ในบ้านรู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน

        IV   คนส่วนใหญ่รู้สึกได้เหมือนรถบรรทุกแล่นผ่าน 

        V    ทุกคนรู้สึกได้ สิ่งของขนาดเล็กเคลื่อนที่

        VI   คนเดินเซ สิ่งของขนาดใหญ่เคลื่อนที่ 

        VII  คนยืนนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ อาคารเสียหายเล็กน้อย

        VIII อาคารเสียหายปานกลาง

        IX   อาคารเสียหายอย่างมาก 

        X    อาคารถูกทำลายพร้อมฐานราก 

        XI   แผ่นดินแยกถล่มและเลื่อนไหล สะพานขาด รางรถไฟบิดงอ ท่อใต้ดินชำรุดเสียหาย 

        XII  สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดถูกทำลาย พื้นดินเป็นลอนคลื่น 

มาตราริกเตอร์ 

        มาตราวัดขนาดแผ่นดินไหวของริกเตอร์ (The Richter Magnitude Scale) พัฒนาโดย ชาร์ล เอฟ ริกเตอร์ นักธรณีวิทยาชาวอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2478 เป็นมาตราที่วัดขนาดของแผ่นดินไหว ซึ่งบันทึกได้จากเครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือนโดยใช้หน่วย “ริกเตอร์” (Richter) เป็นตัวเลขที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบขนาดของแผ่นดินไหวต่างๆ กันได้ โดยคำนวนจากสูตรทางคณิตศาสตร์เป็น logarithm ของความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ มีความรุนแรงเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ และมีความรุนแรงเป็น 100 เท่าของแผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์  

        ขนาด (Magnitude) ของแผ่นดินไหวเป็นตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่บ่งชี้ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ระดับเป็นศูนย์ โดยกำหนดให้แผ่นดินไหวที่เกิดที่ระดับเป็นศูนย์ มีค่าความสูงของคลื่น 0.001 มม. ที่ระยะทาง 100 กิโลเมตร จากศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Epicenter) ขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์บอกเป็นตัวเลข จำนวนเต็มและจุดทศนิยม ดังนี้

ขนาดแผ่นดินไหว (ริกเตอร์)         ประเภท

<3.0                                      แผ่นดินไหวขนาดเล็กมาก (Micro)

3.0 - 3.9                                แผ่นดินไหวขนาดเล็ก (Minor)

4.0 - 4.9                                แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างเล็ก (Light)

5.0 - 5.9                                แผ่นดินไหวขนาดปานกลาง (Moderate)

6.0 - 6.9                                แผ่นดินไหวขนาดค่อนข้างใหญ่ (Strong)

7.0 - 7.9                                แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (Major)

>8.0                                     แผ่นดินไหวใหญ่มาก (Great)

ตัวอย่างแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของโลก