การลดลงของโอโซน
โอโซน (O3) เป็นแก๊สซึ่งประกอบด้วยอะตอมของออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเกาะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ต (UV) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โอโซนเป็นแก๊สที่ไม่มีเสถียรภาพ มีอายุอยู่ในอากาศได้เพียง 20 - 30 สัปดาห์แล้วสลายตัว โอโซนเกิดจากแก๊สออกซิเจน (O2) ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว (O) จากนั้นออกซิเจนอะตอมเดี่ยวรวมตัวกับโมเลกุลของแก๊สออกซิเจน ทำให้เกิดโอโซน โดยมีขั้นตอนดังนี้
O2 -uv-> O + O
แก๊สออกซิเจนได้รับรังสี UV -> ออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว
เกิดขึ้นอย่างช้าๆ
O + O2 -uv-> O3
ออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว + แก๊สออกซิิเจน ได้รับรังสี UV -> โอโซน
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว