ดาวนิวตรอน


ปี ค.ศ.1024 นักปราชญ์ชาวจีนได้บันทึกว่า ที่ตำแหน่งกลุ่มดาววัว มีดาวสว่างเกิดขึ้นมองเห็นได้แม้ในเวลากลางวันนานถึง 23 วัน แล้วจางหายไป คนในยุคก่อนคิดว่าเป็นดาวเกิดใหม่จึงเรียกว่า "โนวา" (Nova) ซึ่งแปลว่า ใหม่    ต่อมาในยุคปัจจุบันนักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องพบวัตถุนี้และเรียกว่า “เนบิวลาปู” (Crab Nebula) เพราะว่ารูปร่างของกลุ่มแก๊สคล้ายกับกระดองปู ดังภาพที่ 1 ภาพถ่ายช่วงคลื่นวิทยุ (Radio) และอินฟราเรด (Infrared) แสดงให้เห็นว่า กลุ่มแก๊สกำลังขยายตัวออก  ภาพถ่ายช่วงคลื่นที่ตามองเห็น (Visible light) แสดงให้เห็นกลุ่มก๊าซที่ขยายตัวอย่างรุนแรง ภาพถ่ายช่วงคลื่นอัลตราไวโอเล็ต (Ultraviolet) ตรวจพบก๊าซร้อนที่เป็นองค์ประกอบของเนบิวลา   ภาพถ่ายอินฟราเรด (Infrared) แสดงฝุ่นและแก๊สเย็นซึ่งเป็นโครงสร้างของเนบิวลา ภาพถ่ายในช่วงคลื่นรังสีเอ็กซ์เรย์ (X-rays) แสดงภาพใจกลางของเนบิวลาเป็นดาวนิวตรอนหมุนรอบตัวเองสูงจนพ่นก๊าซร้อนออกมาจากขั้วดาวทั้งสองข้าง   ภาพถ่ายช่วงคลื่นรังสีแกมมา (Gamma rays) แสดงให้เห็นว่า ใจกลางของเนบิวลามีความร้อนสูงมาก