อุกกาบาต


วัตถุจำพวกดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดเล็กกว่า 1 กิโลเมตร เรียกว่า "สะเก็ดดาว" (Meteoroids) เมื่อสะเก็ดดาวตกลงสู่โลกและเสียดสีกับบรรยากาศจนเกิดความร้อนและลุกติดไฟ มองเห็นเป็นทางยาวในเวลากลางคืนเรียกว่า "ดาวตก" หรือ "ผีพุ่งใต้" (Meteor หรือ Shooting star) ดาวตกที่มองเห็นส่วนมากมีขนาดประมาณเม็ดทราย แต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40 - 70 กิโลเมตร/วินาที จึงเสียดสีกับอากาศจนร้อนมากจนเผาไหม้หมดก่อนที่จะตกถึงพื้นผิวโลก อย่างไรก็ตามถ้าสะเก็ดดาวขนาดใหญ่ตกลงมาก็จะเผาไหม้ไม่หมด เหลือชิ้นส่วนตกค้างบนพื้นผิวโลกซึ่งเรียกว่า "อุกกาบาต" (Meteorite) และหลุมที่เกิดจากการพุ่งชนเรียกว่า "หลุมอุกกาบาต" (Meteor crator)

ภาพที่ 1 ประเภทของอุกกาบาต

การแบ่งประเภทของอุกกาบาตใช้วิธีเดียวกับการแบ่งประเภทดาวเคราะห์น้อย เพราะอุกกาบาตก็คือชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมีได้ดังนี้ 

 ภาพที่ 2 อุกกาบาตจากดาวอังคารบนพื้นผิวโลก 

อุกกาบาตส่วนใหญ่มีกำเนิดจากสะเก็ดของดาวเคราะห์น้อย อย่างไรก็ตามยังมีอุกกาบาตบนพื้นโลกที่มีกำเนิดจากดวงจันทร์และดาวอังคาร  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแรงระเบิดซึ่งเกิดจากดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่พุ่งชนดวงจันทร์หรือดาวอังคาร แรงระเบิดทำให้สะเก็ดดาวกระเด็นขึ้นสู่อวกาศแล้วล่องลอยไปในอวกาศ  เมื่อโลกโคจรผ่านเข้ามา แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้สะเก็ดดาวนั้นตกลงมา และถ้าอุกกาบาตนั้นตกลงบนพื้นผิวสีขาวเช่นแผ่นน้ำแข็ง นักวิทยาศาสตร์ก็จะตามไปเก็บได้ง่าย ดังเช่นภาพที่ 2 เป็นอุกกาบาตจากดาวอังคารที่เก็บได้ที่ขั้วโลกใต้ 

 ภาพที่ 3 ฟอสซิลจุลินทรีย์ในอุกกาบาตจากดาวอังคาร

ในปี พ.ศ.2539 ได้มีการค้นพบอุกกาบาต ALH84001 ซึ่งเป็นสะเก็ดดาวอังคารตกลงบนแผ่นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติก เมื่อนำมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแล้วพบวัตถุรูปร่างเหมือนสิ่งมีชีวิต ดังที่แสดงในภาพที่ 3  นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าเป็นฟอสซิลจุลินทรีย์บนดาวอังคาร แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าเป็นจุลินทรีย์บนโลกของเรา ซึ่งมาอาศัยอยู่ภายหลังจากที่อุกกาบาตอยู่บนพื้นโลกแล้ว อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด 

ภาพที่ 4 ตัวอย่างอุกกาบาต

คำอธิบายตัวอย่างอุกกาบาตในภาพที่ 4


เกร็ดความรู้