ดวงจันทร์ของดาวเสาร์


แม้ว่าดาวเสาร์จะมีดวงจันทร์บริวารที่ถูกค้นพบแล้วมากถึง 62 ดวง แต่ดวงจันทร์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมากและมีรูปร่างไม่เป็นทรงกลม เนื่องจากเป็นดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางซึ่งถูกแรงโน้มถ่วงของเสาร์จับมาเป็นบริวารในภายหลัง ไม่ได้วิวัฒนาการขึ้นมาพร้อมๆ กับดาวเสาร์ ยกเว้น ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ เช่น ไททัน มิมาส เอนเซลาดุส เททีส ไดโอเน รีอา ทั้งนี้ดวงจันทร์แต่ละดวงมีสมบัติพิเศษแตกต่างกันไป 

ไททัน (Titan) เป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของระบบสุริยะรองจากดวงจันทร์คัลลิสโตของดาวพฤหัสบดี  ไททันมีบรรยากาศหนาแน่นกว่าโลก ประกอบด้วยไนโตรเจน 95% และมีเทนครบทั้งสามสถานะ สภาพภูมิประเทศมีทั้งเมฆ ทะเลสาบ แม่น้ำ ซึ่งเป็นมีเทนในสถานะของเหลว นอกจากนั้นยังมีภูมิประเทศเป็นภูเขาและเนินทรายดังเช่นโลกของเรา นักวิทยาศาสตร์จึงสนใจว่า อาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ไททัน 

ฟีบี (Phoebe) โคจรรอบดาวเสาร์ในทิศสวนทางกับดวงจันทร์ขนาดใหญ่ทั้งหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องจากเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์จับมาเป็นบริวารภายหลังยุคก่อตัวของระบบสุริยะ

มิมัส (Mimas) มีรอยชนซึ่งเกิดจากอุกกาบาตขนาดใหญ่ 

เอนเซลาดุส (Enceladus) มีพื้นผิวที่เต็มไปด้วยภูเขาไฟน้ำแข็ง แม้ว่าอุณหภูมิพื้นผิวจะต่ำจนติดลบ แต่ความแตกต่างของอุณหภูมิก็ทำให้แก๊สเปลี่ยนสถานะและเกิดแรงดัน 

ไฮเปอเรียน (Hyperion) เป็นดวงจันทร์ที่มีรูปร่างแบนและมีวงโคจรที่ซับซ้อน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการปะทะกับดาวเคราะห์น้อยเมื่อไม่นานมานี้ 

แพน (Pan) เป็นดวงจันทร์ขนาดเล็กซึ่งโคจรอยู่ในวงแหวนหลัก ขณะที่แพนโคจรไปจะกวาดอนุภาคในวงแหวน ทำให้เกิดช่องว่างแคบๆ เรียกว่า ช่องเองค์เก (Encke) 

เทธิส (Tethys) มีรอยยกตัวขนาดใหญ่ยาว 3 ใน 4 ของเส้นรอบวงดวงจันทร์ และโคจรอบดาวเสาร์โดยมีดวงจันทร์เทเลสโตโคจรนำอยู่ด้านหน้า และดวงจันทร์คาลิปโซโคจรตามหลัง 

คำอธิบายภาพ


ข้อมูลสำคัญ​

ที่มาของข้อมูลและภาพ NASA's Solar System Lithograph Set