การแบ่งประเภทดาวเคราะห์


ระบบสุริยะ มีดาวเคราะห์เป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ 8 ดวง ดาวเคราะห์ชั้นใน 4 ดวงแรก มีขนาดเล็กและมีพื้นผิวเป็นของแข็ง (Terrestrial planets) เนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก บรรยากาศจึงถูกทำลาย  ดาวเคราะห์ชั้นนอก 4 ดวงถัดไป เป็นดาวแก๊สขนาดใหญ่ (Gas giant planets) เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ บรรยากาศจึงไม่ถูกทำลาย ดาวมีมวลมากทำให้แรงโน้มถ่วงมากตามไปด้วย จึงมีวงแหวนและดวงจันทร์บริวารหลายดวง 


การแบ่งประเภทดาวเคราะห์ด้วยมุมมองจากโลก

ในยุคก่อนมียานอวกาศ นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์ ตามลักษณะที่ได้จากการสังเกตการณ์ด้วยมุมมองจากโลก โดยใช้วงโคจรของโลกเป็นเกณฑ์ในการแบ่งดาวเคราะห์ออกเป็นดาวเคราะห์วงในและดาวเคราะห์วงนอก 

ภาพที่ 1 ดาวเคราะห์วงใน/ดาวเคราะห์วงนอก

และมุมมองจากโลก 

ภาพที่ 3 ขนาดปรากฏของดาวศุกร์

การแบ่งประเภทดาวเคราะห์ตามลักษณะทางกายภาพ

ในยุคปัจจุบัน นักดาราศาสตร์จำแนกประเภทดาวเคราะห์ตามลักษณะทางกายภาพซึ่งได้ข้อมูลมาจากยานอวกาศ ซึ่งแบ่งออกเป็นดาวเคราะห์ชั้นในและดาวเคราะห์ชั้นนอก 

ภาพที่ 3 ดาวเคราะห์ชั้นในและดาวเคราะห์ชั้นนอก 

ภาพที่ 4 โครงสร้างของดาวเคราะห์ชั้นนอก

หมายเหตุ: หากพิจารณาโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ชั้นนอกในภาพที่ 4 ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจนดังเช่นดวงอาทิตย์​   ดังนั้นหากดาวเคราะห์แก๊สสามารถสะสมมวลให้มากพอที่จะกดดันให้ใจกลางของดาวมีึอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านเคลวิน ก็จะสามารถฟิวชันไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียมเกิดเป็นดาวฤกษ์   และหากนำบรรยากาศที่หนาแน่นด้วยแก๊สไฮโดรเจนนี้ออกไป ดาวเคราะห์ชั้นนอกก็จะมีสภาพเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีพื้นผิวเป็นของแข็งดังเช่นดาวเคราะห์ชั้นในนั่นเอง