ข้างขึ้นข้างแรม


ข้างขึ้นข้างแรม (The Moon’s Phases) เกิดขึ้นเนื่องจากดวงจันทร์มีรูปร่างเป็นทรงกลม  ดวงอาทิตย์ส่องแสงมาทำให้พื้นผิวดวงจันทร์ด้านที่อยู่ใกล้ สว่างขึ้นเป็นกลางวัน ขณะเดียวกันส่วนป่องของดวงจันทร์ทำให้เกิดเงา ทำให้ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เป็นกลางคืน   ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทำให้มุมระหว่างดวงอาทิตย์-ดวงจันทร์-โลก เปลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปวันละ 12 องศา  เมื่อมองดูดวงจันทร์จากโลก เราจึงมองเห็นเสี้ยวของดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนไปเป็นวงรอบดังภาพที่ 1 ใช้ประมาณ 30 วัน 

ภาพที่ 1 การเกิดข้างขึ้นข้างแรม

ที่มา: Moon Connection

คนไทยแบ่งเดือนทางจันทรคติ (Lunar month) ออกเป็น 30 วัน คือ วันขึ้น 1 ค่ำ - วันขึ้น 15 ค่ำ และ วันแรม 1 ค่ำ - วันแรม 15 ค่ำ โดยถือให้วันขึ้น 15 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง), วันแรม 15 ค่ำ (ดวงจันทร์มืดทั้งดวง), วันแรม 8 ค่ำ และวันขึ้น 8 ค่ำ (ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง) เป็นวันพระ

ภาพที่ 2 กระต่ายบนดวงจันทร์

วิธีสังเกตข้างขึ้นข้างแรม 

        คนโบราณมองเห็นพื้นที่สีคล้ำซึ่งเต็มไปด้วยหลุมอุกาบาตบนดวงจันทร์เป็นรูปกระต่าย ดังภาพที่ 2 เราสามารถใช้รูปกระต่ายบนดวงจันทร์ช่วยสังเกตข้างขึ้นข้างแรมได้ดังนี้ 

หมายเหตุ: 

ภาพที่ 3 แสงโลก (Earth shine)