กล้องส่องทางไกลชนิดสองตา


กล้องส่องทางไกลชนิดสองตา (Binocular) มีหลักการเช่นเดียวกับกล้องโทรทรรศน์กล่าวคือ ประกอบด้วยเลนส์  2 ชุด คือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา และใส่ปริซึมไว้ภายในระหว่างเลนส์ทั้งสองเพื่อหักเหลำแสงกลับไปกลับมา ทำให้ลำกล้องสั้นและให้ภาพหัวตั้ง ดังไดอะแกรมในภาพที่ 1 กล้องแบบเพอร์โร-ปริซึม (Porro-prism) และภาพที่ 2 กล้องแบบรูฟ-ปริซึม (Roof-prism) ขนาดของกล้องประกอบด้วยตัวเลขสองจำนวน ได้แก่ 8x40, 7x50 หรือ 10x25 เป็นต้น  จำนวนแรกเป็นกำลังขยาย  จำนวนหลังเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์วัตถุมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร

ภาพที่ 1 แบบพอร์โร - ปริซึม (Porro-Prism) 

ภาพที่ 2 แบบรูฟ - ปริซึม (Roof-Prism)

กล้องส่องทางไกลแบบสองตามีหลายขนาขึ้นอยู่กับความสะดวกในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น 

ในการใช้กล้องส่องทางไกลจะสังเกตได้ว่า หากถือกล้องไว้ห่างจากดวงตามากเกินไป เราจะมองไม่เห็นภาพทั้งหมดในกล้อง ขอบของภาพจะเบลอจนกว่าเราจะขยับกล้องให้ใกล้กับดวงตามากขึ้น จึงจะเห็นภาพชัดเจนทั้งหมดจนถึงขอบดังแสดงในภาพที่ 3 และ 4   ระยะห่างระหว่างเลนส์ตากับดวงตาซึ่งทำให้มองเห็นภาพทั้งหมดในกล้องได้ชัดเจนจนถึงขอบเรียกว่า "อายรีลีฟ" (Eye relief)   กล้องสองตาทั่วไปมีอายรีลีฟประมาณ 8 - 14 มิลลิเมตร ซึ่งสั้นเกินไปสำหรับผู้สวมใส่แว่นสายตา  ดังนั้นหากท่านมีความประสงค์จะใช้กล้องสองตาโดยไม่ต้องถอดแว่นออกเลย ควรเลือกกล้องที่มีอายรีลีฟยาวกว่า 17 มิลลิเมตรขึ้นไป  อย่างไรก็ตามอายรีลีฟแปรผกผันกับกำลังขยาย   กล้องกำลังขยายสูงมีอายรีลีฟสั้น  กล้องกำลังขยายต่ำมีอายรีลีฟยาวกว่า  ดังนั้นการสร้างกล้องกำลังขยายสูงที่มีอายรีลีฟยาว ต้องออกแบบเป็นพิเศษและมีราคาแพงมาก 

ภาพที่ 3 อายรีลีฟสั้น

ภาพที่ 4 อายรีลีฟยาว