เรดาร์ตรวจอากาศ

       เรดาร์ตรวจอากาศ (Radar ย่อมาจาก RAdio Detection And Ranging) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจับตำแหน่งและทิศทางการเคลื่อนที่ของเมฆและพายุ โดยการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปกระทบแล้วสะท้อนกลับมา แล้วคำนวณเปรียบเทียบระยะวลาที่คลื่นเดินทางออกไปแล้วสะท้อนกลับมา ทำให้ทราบว่าเมฆหรือพายุอยู่ห่างออกไปเท่าไร  นอกจากนั้นแล้วยังใช้ปรากฏการณ์ด็อปเปลอร์คำนวณว่า เมฆหรือพายุกำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้หรือออกห่างด้วยความเร็วเท่าไร เสาอากาศของเรดาร์ตรวจอากาศหมุนรอบตัวเพื่อตรวจสภาพอากาศที่อยู่รอบๆ ซึ่งมีรัศมีทำการได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร  ภาพที่ 1 เป็นภาพจากเรดาร์ตรวจอากาศที่สนามบินสุวรรณภูมิ แสดงให้เห็นความหนาแน่นของกลุ่มเมฆทางทิศตะวันออกในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรี สีเขียว สีเหลือ และสีแดง คือเมฆที่มีความหนาแน่นจากน้อยไปมากตามลำดับ ท่านสามารถติดตามข้อมูลเรดาร์ในเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาได้ที่ http://www2.tmd.go.th/radar/ 

ภาพที่ 1 ภาพเมฆจากเรดาร์ตรวจอากาศ 

        ตามปกติเรดาร์ตรวจอากาศจะถูกติดตั้งอยู่ภายในโดมทรงกลมบนยอดอาคารอุตุนิยมวิทยา เพื่อป้องกัน ลม แสงแดด ความชื้นและฝน (คลื่นวิทยุสามารถเดินทางผ่านผนังโดมได้)  ดังที่แสดงในภาพที่ 2 คือ โดมเรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา  

ภาพที่ 2 เรดาร์ตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา