ระบบโลก (Earth System)
โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Planet) ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ศึกษาโลกแบบแยกส่วน นักธรณีวิทยาศึกษาเปลือกโลกที่เป็นของแข็ง นักสมุทรศาสตร์ศึกษาทะเลและมหาสมุทร นักอุตุนิยมวิทยาศึกษาบรรยากาศ นักชีววิทยาศึกษาสิ่งมีชีวิต ขณะที่นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวบนท้องฟ้า แต่เมื่อเกิดปรากฏการณ์เช่น เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากการณ์ที่เกี่ยวเนื่องทั้งแผ่นดิน มหาสมุทร บรรยากาศ สิ่งมีชีวิต และพลังงานจากดวงอาทิตย์ ก็ไม่มีใครหาคำตอบได้ จนกระทั่งไม่กี่ทศวรรษมานี้เอง นักวิทยาศาสตร์ตระหนักได้ว่า การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลกจะต้องมองโลกให้เป็นระบบ (ภาพที่ 1) อย่างไรก็ตามในการเขียนตำราเรียนจำต้องเรียงแบบอนุกรม นำเสนอโลกทีละภาคส่วน ดังนี้
ธรณีภาค (Lithosphere) เปลือกโลกในส่วนที่เป็นของแข็ง
อุทกภาค (Hydrosphere) น้ำที่ห่อหุ้มโลก
อากาศภาค (Atmoshere) บรรยากาศที่ห้อหุ้มโลก
ชีวภาค (Biosphere) สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลกทั้งบนบกและในมหาสมุทร
การเปลี่ยนแปลงสภาวะของโลก (Global Change) การปรับสมดุลพลังงานของโลก
ภาพที่ 1 ระบบโลก
เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีทั้งเปลี่ยนแปลงเป็นคาบเวลาระยะสั้นและระยะยาว การทำความเข้าใจโลก จึงเป็นต้องศึกษากำเนิดโลก