กล้องโทรทรรศน์อย่างง่าย

    กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) หรือ กล้องดูดาว เป็นทัศนูปกรณ์ซึ่งประกอบด้วย เลนส์นูนสองชุดทำงานร่วมกัน หรือ กระจกเงาเว้าทำงานร่วมกับเลนส์นูน เลนส์นูนหรือกระจกเงาเว้าขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านใกล้วัตถุทำหน้าที่รวมแสง ส่วนเลนส์นูนที่อยู่ใกล้ตาทำหน้าที่เพิ่มกำลังขยาย การเพิ่มกำลังรวมแสงช่วยให้นักดาราศาสตร์มองเห็นวัตถุที่มีความสว่างน้อย  การเพิ่มกำลังขยายช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นรายละเอียดของวัตถุมากขึ้น
 
ภาพที่ 1 กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร
 
ตารางที่ 1 ชิ้นส่วนกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร
 ลำดับ
                    ชิ้นส่วน
 จำนวน
                     รายละเอียด
 1
 เลนส์วัตถุ ความยาวโฟกัส 500 มม.
 1
 เลนส์เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ซม.
 2
 เลนส์ตา ความยาวโฟกัส 45 มม.
 1
 เลนส์นูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 ซม.
 3
 ที่ล็อคเลนส์วัตถุ
 1
 ท่อเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.5 ซม. ยาว 4.8 ซม.
 4
 ที่ล็อคเลนส์ตา
 1
 ท่อลดผ่าศูนย์กลาง 4.5 ซม. เป็น 3 ซม.
 5
 ท่อลำกล้อง
 1
 ท่อเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.7 ซม. ยาว 39.5 ซม.
 6
 ท่อปรับระยะโฟกัส
 1
 ท่อเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ซม. ยาว 17.5 ซม.
 7
 ข้อต่อลำกล้องกับท่อปรับระยะชัด
 1
 ท่อลด 4.5 ซม. เป็น 3 ซม.
 
ตารางที่ 2 ชิ้นส่วนกล้องโทรทรรศน์หักเหแสง 
 
เลนส์วัตถุ
 
เลนส์ตา
 
ที่ล็อคเลนส์วัตถุ
 
ที่ล็อคเลนส์ตา
 
ท่อลำกล้อง
 
ท่อปรับระยะโฟกัส

 ข้อต่อลำกล้องกับท่อปรับระยะชัด

 
ชุดประกอบกล้องทั้งหมด
 
การประกอบกล้องโทรทรรศน์หักเหแสง
1. วางเลนส์วัตถุใส่ในท่อที่ล็อคเลนส์วัตถุ โดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน สวมท่อลำกล้องกดให้แน่น
2. สอดท่อปรับระยะชัดในข้อต่อลำกล้องกับท่อปรับฯโดยใส่ให้ปลายบานอยู่ด้านในท่อลด
3. วางเลนส์ตาใส่ในท่อโดยให้ด้านนูนหันไปด้านเล็กของท่อลด แล้วกดลงไปที่ปลายท่อปรับฯ
4. สวมข้อต่อลำกล้องกับท่อปรับระยะชัด ไปที่ท่อลำกล้อง
5. ถ้าต้องการถอดแต่ไม่สามารถดึงชิ้นส่วนต่างๆออก ให้โยกคลอนซ้าย-ขวาแล้วค่อยดึง
 
 วิธีใช้งาน
1. มองภาพจากด้านเล็กของกล้องและดึงท่อปรับระยะชัดจนภาพที่เห็นในกล้องชัดที่สุด
2. ภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวกลับ

วิธีการคำนวณกำลังขยายของกล้อง
 

 
 
การทดลองจากกล้องจำลอง
1. ลองเปรียบเทียบภาพที่เห็น เมื่อใส่กลับด้านเลนส์วัตถุ
2. ลองเปรียบเทียบภาพที่เห็น เมื่อใส่เลนส์ตาโดยให้ด้านแบนของเลนส์วัตถุหันเข้าหาตา
 
หมายเหตุ
* เนื่องจากกล้องนี้เป็นแบบจำลองของกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง (Refracting telescope) ที่ใช้ในปัจจุบัน ภาพที่เห็นจากกล้องนี้จะเป็นภาพหัวกลับ เพราะการสังเกตการณ์วัตถุบนท้องฟ้าจะไม่มีหัวตั้งหัวกลับ สำหรับกล้องจริงถ้าต้องการจะได้ภาพหัวตั้งต้องมีอุปกรณ์เสริม เช่น ปริซึมภาพหัวตั้ง
 ** กล้องดูดาวแบบที่กาลิเลโอใช้จะให้ภาพหัวตั้ง แต่ประสิทธิภาพด้อยกว่า (มุมภาพแคบ) สำหรับกล้องจำลองนี้สามารถทำให้เป็นภาพหัวตั้ง โดยใช้เลนส์ตาเป็นเลนส์เว้า และปรับระยะเลนส์วัตถุกับเลนส์ตาให้เหมาะสม
 *** ห้ามใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องมองดูดวงอาทิตย์ โดยปราศจากแผ่นกรองแสงอาทิตย์ที่มีคุณภาพโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้ตาบอดได้