นาฬิกาแดด (Sundial) เป็นเครื่องมือในการบอกเวลาของมนุษย์มาแต่โบราณ ในการศึกษาเรื่องนาฬิกาแดดจะช่วยให้มีความรู้เรื่องเส้นทางเดินของดวงอาทิตย์ หรือ “สุริยวิถี” และเป็นหลักฐานที่แสดงว่าแกนโลกเอียง 23.5° ขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าที่สังเกตในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน เคลื่อนที่เปลี่ยนไปในรอบปี ดังภาพที่ 1 ภาพที่
1
เส้นสุริยวิถีเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า
ทำให้เรามองเห็น นาฬิกาแดดมี 3
ประเภท
คือ นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตร
นาฬิกาแดดแนวตั้ง และนาฬิกาแดดแนวราบ
นาฬิกาแดดทั้งสามชนิดมีส่วนประกอบที่สำคัญ
2 ชิ้นส่วนคือ
นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตร นาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตร (Equatorial Sundial) มีสันกำเนิดเงาตั้งอยู่ในแนวทิศเหนือ - ใต้ ชี้ไปยังขั้วฟ้า หรือทำมุมเท่ากับค่าละติจูดของผู้สังเกตการณ์ ดังภาพที่ 2 โดยมีหน้าปัดรับเงาทั้งสองด้าน เนื่องจากในช่วงวันที่ 21 มีนาคม ถึง วันที่ 23 กันยายน ดวงอาทิตย์จะอยู่ในซีกฟ้าเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 23 กันยายน ถึงวันที่ 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์จะอยู่ในซีกฟ้าใต้ นาฬิกาแดดประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้ในประเทศแถบศูนย์สูตร เช่น ประเทศไทย เนื่องจากสันกำเนิดเงาของนาฬิกาแดดแนวตั้งและนาฬิกาแดดแนวนอนมีระดับต่ำ มีมุมลาดมากไม่สวยงาม ภาพที่
3
หน้าปัดของนาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตร หน้าปัดของนาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตรจะเอียงทำมุมในระนาบของเส้นศูนย์สูตรฟ้า โดยมีสเกลแบ่งเวลาเป็นชั่วโมง เส้นชั่วโมงแต่ละเส้นทำมุมกัน 15° (360°/ 24 ชั่วโมง) เนื่องจากทรงกลมท้องฟ้าเคลื่อนที่ไป 15° ใน 1 ชั่วโมง ดังภาพที่ 3 นาฬิกาแดดแนวตั้ง ภาพที่ 4 นาฬิกาแดดแนวตั้ง นาฬิกาแดดแนวตั้ง (Vertical Sundial) มีลักษณะและหลักการคล้ายคลึงกับนาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตร เพียงแต่หน้าปัดหรือฉากรับเงาจะตั้งขึ้นตั้งฉากกับพื้นโลก ดังภาพที่ 4 นาฬิกาแดดแนวตั้งจะต้องมีหน้าปัดสองด้านเช่นเดียวกับนาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตร เนื่องจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแสง จะมีตำแหน่งค่อนไปทางเหนือ - ใต้ ตามแต่ฤดูกาล นาฬิกาแดดแนวตั้งส่วนมากมีขนาดเล็ก ชาวยุโรปนิยมสร้างนาฬิกาแดดประเภทนี้ ประดับผนังภายนอกอาคาร ภาพที่ 5 หน้าปัดของนาฬิกาแดดแนวตั้ง หน้าปัดของนาฬิกาแดดแนวตั้งทำมุมตั้งฉากกับพื้น ดังภาพที่ 5 (ไม่เหมือนกับหน้าปัดของนาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตร ซึ่งเอียงขนานกับระนาบของเส้นศูนย์สูตรฟ้า) โดยมีสเกลแบ่งเวลาเป็นชั่วโมง เส้นชั่วโมงแต่ละเส้นทำมุมกัน 15 องศา (360°/ 24 ชั่วโมง) เช่นกัน นาฬิกาแดดแนวราบ นาฬิกาแดดแนวราบ (Horizontal Sundial) มีสันกำเนิดเงาขนานกับแกนหมุนของโลก และชี้ไปทางขั้วฟ้า เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมา จะปรากฏเงาบนพื้นราบ ในลักษณะเดียวกับเงาของอาคาร หรือต้นไม้ ดวงอาทิตย์อยู่สูง เงาก็ยิ่งสั้นลง นาฬิกาแดดประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากในประเทศที่มีละติจูดสูง แต่ไม่เหมาะสำหรับประเทศที่อยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศไทย เนื่องจากมุมละติจูดเล็กมาก ทำให้สันกำเนิดเงาต่ำมาก ดังภาพที่ 6ภาพที่ 6 หน้าปัดของนาฬิกาแดดแนวราบ สมการเวลา นาฬิกาแดดทุกชนิดสามารถคลาดเคลื่อนจากเวลาจริงไม่เกิน ±16 นาที แล้วแต่ฤดูกาล เนื่องจากแกนของโลกเอียง 23.5° และวงโคจรของโลกเป็นรูปวงรี ทำให้ระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ไม่ใช่ระยะคงที่ ถ้าต้องการให้ค่าที่ได้ตรงกับความเป็นจริง จะต้องนำเวลาที่อ่านได้มาเทียบปฏิทินในกราฟสมการเวลา (Equation of Time) ด้านล่างอีกทีหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น
ภาพที่ 7 สมการเวลา (ที่มา: www.petrasundials.com) [ดาวน์โหลดนาฬิกาแดดแบบศูนย์สูตร คลิกไฟล์แนบด้านล่าง] |
สื่อการเรียนรู้ > สิ่งประดิษฐ์ >
นาฬิกาแดด
หน้าเว็บย่อย (1):
ประดิษฐ์นาฬิกาแดด