พันธะเคมี

ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player 

วิธีใช้: 
  1. กดปุ่ม Overview 
  2. กดลูกศรขวามือด้านบน ไปที่หน้า 3 (Types of Bonds) 
  3. คลิกลูกศรขึ้นลงที่มุมล่างซ้าย เพื่อเลือกแบบของพันธะ
  4. กดปุ่ม Bond เพื่อสาธิตการเชื่อมต่อ 
  5. กดปุ่ม 3D View เพื่อแสดงโมเดลสามมิติ
  6. กดปุ่ม Reset เพื่อเริ่มต้นใหม่ 
คำอธิบาย: 
        อะตอมเชื่อมต่อกันด้วยอีเล็กตรอน ซึ่งอาจมีทั้งการให้ รับ หรือแชร์อีเล็กตรอนร่วมกัน พันทะเกิดขึ้นเนื่องจากอะตอมพยายามจะปรับตัวเองให้มีเสถียรภาพให้มากที่สุด การที่มีเสถียรภาพมากที่สุดนั้นอะตอมจะต้องมีอีเล็กตรอนบรรจุอยู่ในวงโคจรชั้นบนสุดครบ 8 ตัว (ทั้งนี้วงโคจรชั้นล่างสุดจะต้องมีอีเล็กตรอน 2 ตัว) ถ้าศึกษาตารางธาตุจะเห็นว่า การจัดเรียงคอลัมน์ธาตุในตารางธาตุ วงโคจชั้นนอกสุดของอะตอมธาตุในคอลัมน์ที่ 1 มีอีเล็กตรอน 1 ตัว ในคอลัมน์ที่ 2 มี 2 ตัว (ข้ามธาตุโลหะคอลัมภ์ที่ 3 - 12) ในคอลัมน์ที่ 13 มี 3 ตัว  ในคอลัมน์ที่ 14 มี 4 ตัว  เรื่อยไปจนกระทั่งถึงคอลัมน์สุดท้ายมี 8 ตัว นี่เองคือเหตุผลที่ธาตุในคอลัมน์สุดท้ายเป็นก๊าซเฉื่อย ซึ่งไม่ทำปฏิกริยากับธาตุอื่น เนื่องจากอะตอมมีความเสถียรแล้ว 

        พันธะไอออน (Ion Bonding): อะตอมพยายามเข้าสู่เสถียรภาพโดยการให้และรับอีเล็กตรอน ดังแสดงในภาพ อะตอมของโซเดียม (Na) มีอีเล็กตรอน 11 ตัว (2 + 8 + 1) บริจาคอิเล็กตรอนชั้นนอก 1 ตัว ให้กับคลอรีน (Na) ซึ่งมีอีเล็กตรอน 17 ตัว (2 + 8 +7) ซึ่งวงโคจรชั้นนอกขาดอิเล็กตรอนขาดไป 1 ตัวพอดี  โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) จึงมีเสถียรภาพ

        พันธะโควาเลนท์ (Covalent Bonding): อะตอมพยายามเข้าสู่เสถียรภาพโดยการใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมที่มีลักษณะคล้ายกัน การเชื่อมต่อเช่นนี้จึงมีความแข็งแรงกว่าพันธะไอออน ในภาพเป็นการใช้อีเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมไฮโดรเจน 2 ตัว  

        พันธะโลหะ (Metallic Bonding): อะตอมชองธาตุโลหะพยายามรักษาเสถียรภาพไว้ โดยให้การรักษาอีเล็กตรอนในวงรองจากนอกสุดไว้ให้ครบ 8 ตัว แล้วปล่อยให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดให้เป็นอิสระ  โลหะจึงมีความเหนียวมาก  และเป็นสื่อนำไฟฟ้าที่ดี 

        พันธะแวนเดอวาลส์ (Van der Waals Bonding): เป็นพันธะที่ยึดแต่ละโมเลกุลไว้ด้วยกัน (Intermolecular bonds) โดยมีจุดต่อเชื่อมที่อะตอมเพียงบางตัวซี่งยึดเหนี่ยวกันด้วยประจุต่างขั้ว พันธะแบบนี้จึงมีความแข็งแรงน้อย ในภาพแสดงให้เห็นประจุ + และ - ของอะตอมซึ่งต่อเชื่อมโมเลกุลสของแร่โคลนให้ติดกัน  

        พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen Bonding): เป็นรูปแบบหนึ่งของพันธะแวนเดอวาลส์ ซึ่งเกิดขึ้นในโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจน ในภาพแสดงถึง โมเลกุลของน้ำ 4 โมเลกุล เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจน โดยอะตอมแต่ละตัวของออกซิเจนมีประจุลบ ส่วนอะตอมของไฮโดรเจนแต่ละตัวมีประจุบวก 



Comments