โชติมาตร เป็นคำๆ เดียวกับ แมกนิจูด หรือ อันดับความสว่าง โชติมาตรปรากฏ (Apparent magnitude) เป็นการแสดงอันดับความสว่างซึ่งสังเกตการณ์จากโลก ในการศึกษาทางดาราศาสตร์ต้องการเปรียบเทียบความสว่างที่แท้จริงของดาวแต่ละดวง จึงใช้ค่าโชติมาตรสัมบูรณ์ (Absolute Magnitude) ซึ่งสมมติว่า ถ้าดาวทุกดวงอยู่ห่างจากโลก 10 พาร์เซค (1 พาร์เซค = 3.26 ปีแสง) จะมีอันดับความสว่างเท่าไร เช่น ดวงอาทิตย์มีโชติมาตรปรากฏ -26.5 แต่ถ้าดวงอาทิตย์ห่างจากโลก 10 พาร์เซค ดวงอาทิตย์ก็จะมีโชติมาตรสัมบูรณ์เพียง +4.6 เป็นต้น
ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player
คำอธิบาย: แฟลชนี้ใช้สำหรับเปรียบเทียบ โชติมาตรปรากฏ (m) และ โชติมาตรสัมบูรณ์ (M) โดยแทนค่าสูตร
m – M = 5 log d – 5
โดยที่ d คือระยะห่างระหว่างโลกกับดาว มีหน่วยเป็นพาร์เซค (pc)
- ปุ่มสไลด์ m: ใช้ปรับค่าโชติมาตรปรากฏ
- ปุ่มสไลด์ M: ใช้ปรับค่าโชติมาตรสัมบูรณ์
- ปุ่มสไลด์ d: ใช้ปรับค่าระยะทางระหว่างโลกกับดวงดาว มีหน่วยเป็นพาร์เซค (pc) หรือ ปีแสง (ly)
- Lock m: ล็อกโชติมาตรปรากฏ (m) ปรับเลือกได้แต่ โชติมาตรสัมบูรณ์ (M) และระยะทาง (d)
- Lock M: ล็อกโชติมาตรสัมบูรณ์ (M) ปรับเลือกได้แต่ โชติมาตรปรากฏ (m) และระยะทาง (d)
- Lock d: ล็อกระยะทาง (d) ปรับเลือกได้แต่โชติมาตรปรากฏ ปรับเลือกได้แต่ โชติมาตรสัมบูรณ์ (M)