- สเปกตรัมต่อเนื่อง (Continuous) เกิดขึ้นจากการแผ่รังสีของวัตถุดำ (Blackbody)
- สเปกตรัมแผ่รังสี (Emission) เกิดจากการแผ่รังสีของแก๊สร้อน ทำให้เกิดเส้นสว่างบนสเปกตรัมมืด
- สเปกตรัมดูดกลืน (Absorption) เกิดจากการที่กลุ่มแก๊สโปร่งใสขวางกั้นการแผ่รังสีจากวัตถุดำ ทำให้เกิดเส้นมืดบนสเปกตรัมสี
ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player
คำอธิบาย: แฟลชนี้ใช้ยกตัวอย่างสเปกตรัมทั้งสามประเภท
- สเปกตรัมแบบต่อเนื่อง (Continuous): เป็นแถบรุ้งไม่มีเส้นมืด
- สเปกตรัมแผ่รังสี (Emission): เป็นแถบสีบนสเปกตรัมมืด มี 6 ตัวอย่าง (Elements) ได้แก่
- Ionized Helium: ประจุฮีเลียม
- Helium: ฮีเลียม
- Hydrogen: ไฮโดรเจน
- Ionized Metals: ประจุโลหะ
- Metals: โลหะ
- Molecules: โมเลกุล
- สเปกตรัมดูดกลืน (Absorbtion): เป็นเส้นมืดบนแถบสเปกตรัมสี ซึ่งสามารถเลือก 2 ตัวแปร ได้แก่
- ประเภทกำลังส่องสว่างของดาวฤกษ์ (Luminosity Class) ประเภท I, III, V
- ประเภทสเปกตรัมของดาวฤกษ์ ตั้งแต่ O1 ถึง M9