เราสามารถคำนวณหาระยะทางจากดาวได้ หากทราบโชติมาตรปรากฏ กำลังส่องสว่าง และประเภทของสเปกตรัม
- โชติมาตรปรากฏ หาได้จากการบันทึกภาพของดาวฤกษ์ที่ต้องการหาระยะทาง แล้วทำการเปรียบเทียบกับดาวฤกษ์ที่ทราบค่าโชติมาตรอยู่แล้ว
- ประเภทสเปกตรัมของดาว หาได้จากสเปกโตรสโคปบันทึกค่าความยาวคลื่นที่ดาวแผ่รังสีออกมา รวมทั้งเส้นดูดกลืนรังสีซึ่งสามารถบ่งบอกว่า บรรยากาศของดาวฤกษ์มีองค์ประกอบเป็นธาตุอะไร
- กำลังส่องสว่าง หาได้จากการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ใน HR Diagram เมื่อทราบกำลังส่องสว่าง ก็จะทราบโชติมาตรสัมบูรณ์
เมื่อทราบค่าทั้งสามตัวแปร ก็จะสามารถคำนวนหาระยะทางของดาวฤกษ์ได้โดยใช้สูตร Distance Modulus ในแฟลชด้านล่าง เราเรียกกระบวนการนี้ว่า "แพรัลแลกซ์สเปกตรัม" (Spectroscopic Parallax)
ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player
คำอธิบาย:
- Absorption Line Intensities: กราฟแสดงความเข้มของเส้นดูดกลืน (ช่องซ้ายบน)
- แกนนอน Spectral Typeประเภทของสเปกตรัม
- แกนตั้ง Line Strength ความเข้มของเส้นดูดกลืน
- กราฟแสง 6 เส้น แสดงธาตุองค์ประกอบในบรรยากาศของดาวฤกษ์
- เส้นสเกลสีแดง ใช้สำหรับเลือกประเภทสเปกตรัม ข้อมูลตัวแปรตามที่อยู่ด้านบนจะแสดงประเภทของสเปกตรัม อุณหภูมิพื้นผิว และองค์ประกอบในบรรยากาศของดาว
- Simulated Spectrum: จำลองสเปกตรัมของดาว (ช่องซ้ายกลาง)
- Distance Modulus Caculation: สูตรคำนวณระยะทางของดาวฤกษ์ (ช่องซ้ายล่าง)
mv – Mv = -5 + 5 log10 d
โชติมาตรปรากฏ – โชติมาตรสัมบูรณ์ = -5 + 5 log10 x ระยะทาง (พาร์เซก)
- HR Diagram: แผนภาพเฮิซสปรุง-รัสเซล (ช่องขวาบน)
- แกนนอน Temperature อุณหภูมิมีหน่วยเป็นเคลวิน
- แกนตั้ง Luminosity กำลังส่องสว่างเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์
- Star Attribute: สมบัติของดาว (ช่องขวาล่าง)
- apparent magnitude: ปุ่มสเกลเลือกโชติมาตรปรากฏ
- luminosity class: ประเภทของกำลังส่องสว่าง
- Class I Supergiant: ดาวยักษ์ใหญ่
- Class II Bright Giants: ดาวยักษ์สว่าง
- Class III Normal Giants: ดาวยักษ์
- Class IV Subgiant: ดาวยักษ์เล็ก
- Class V Main-sequence and dwarf: ดาวลำดับหลัก และดาวแคระ
- spectral type: ประเภทสเปกตรัม
- temperature: อุณหภูมิ (เคลวิน)