วัฏจักรหิน

ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player 

หินอัคนี (Igneous Rocks) เปรียบนตัวอย่างหินอัคนีพุ ได้แก่ หินบะซอลต์ และหินอัคนีแทรกซอน ได้แก่ หินแกรนิต
  • การหลอมละลาย (Melting) เมื่อแผ่นธรณีภาคชนกัน แผ่นธรณีมหาสมุทรที่มีความหนาแน่นมากกว่า จะจมตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค  หินบางส่วนจะหลอมเหลวกลายเป็นแมกมาแล้วลอยตัวขึ้นดันเปลือกโลกที่อยู่ข้างบนให้กลายเป็นภูเขาไฟ   กดปุ่ม Erupt เพื่อดูการปะทุของภูเขาไฟ   หินไรออไลต์เกิดจากการเย็นตัวของลาวาบนพื้นผิวโลก  หินแกรนิตเกิดจากเย็นตัวของแมกมาใต้พื้นผิวโลก
  • การเย็นตัวและการตกผลึก (Cooling & Crystallization)  แมกมาที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟเรียกว่า ลาวา เมื่อลาวาสัมผัสอากาศและพื้นน้ำที่อยู่บนผิวโลกจะเย็นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลึกมีขนาดเล็ก (Extrusive Crystallization)  ส่วนแมกมาที่ไม่ได้โผล่ขึ้นมาเหนือผิวโลกจะเย็นตัวอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกขนาดใหญ่ (Intrusive Crystallization)  กดปุ่ม Crystallize เพื่อตัวการเกิดผลึก
หินตะกอน (Sedimentary Rocks) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในใต้ทะเลลึก ปากแม่น้ำ ร่องแม่น้ำ ที่ราบน้ำท่วมถึง และหุบเขา โดยอาศัยปัจจัยดังนี้ 
  • การผุพังและการพัดพา (Weathering & Transport) การผุพังแบ่งได้สองปัจจัยคือ การผุพังโดยปราศจากปฏิกิริยาเคมี (Mechanical Weathering) เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและพลังงานจลน์ และ การผุพังด้วยปฏิกริยาเคมี (Chemical Weathering) ได้แก่ การทำละลายด้วยน้ำ  
  • การทับถมและการแข็งเป็นหิน (Deposition & Lithification)  กระแสน้ำพัดพาให้อนุภาคตะกอนเคลื่อนที่ และคัดแยกให้เกิดการทับถมในสถานที่แตกต่างก้น ถ้ากระแสน้ำแรงก็สามารถพัดพาอนุภาคขนาดใหญ่เช่น กรวดและทราย  แต่ถ้ากระแสน้ำอ่อนก็พัดพาได้แต่อนุภาคขนาดเล็กเช่น ทรายแป้งและโคลน (กด View Cross Section เพื่อดูภาคตัดขวาง) การทับถมทำให้ตะกอนเกิดการฝังตัว (Burial) แร่บางชนิดมีสมบัติเป็นซีเมนต์เชื่อมให้ตะกอนยึดติดกันและแข็งเป็นหิน 
หินแปร (Metamorphic Rocks) เกิดขึ้นจากการแปรสภาพด้วยความร้อน ความดัน และปฏิกริยาเคมี ตัวอย่างเช่น  หินไนส์ (Gniess) เกิดจากหินแกรนิตได้รับความร้อนจนได้รับเกิดแรงดันให้แร่เรียงตัวตกผลึกใหม่, หินฟิลไลต์ (Phyllite) เกิดจากหินดินดานได้รับความดันและอุณหภูมิสูงจนทำให้เกิดผลึกไมกาในเนื้อหิน  
  • ความร้อนและความดัน (Heat & Pressure) ทำให้เกิดการแปรสภาพ 4 แบบ ได้แก่​ 
         - อุณหภูมิสูงความร้อนสูง (High temperature, High pressure) เกิดขึ้นที่ระดับลึกใต้เทือกเขา ทำให้เกิดการแปรสภาพแบบไพศาล (Regional) ได้แก่ หินไนซ์​ 
         -  อุณหภูมิสูงความดันต่ำ (High temperature, Low pressure) เกิดขึ้นที่ระดับตื้น ทำให้เกิดการแปรสภาพแบบสัมผัส (Contact) ได้แก่ หินอ่อน 
         - อุณหภูมิต่ำความดันสูง (Low temperature, High pressure) เกิดขึ้นที่แนวมุดตัวของโลก บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน 
         - น้ำร้อนความดันต่ำ (Hot water, Low pressure) เกิดขึ้นบริเวณสันเขาใต้สมุทร บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน  

Comments