แพรัลแลกซ์ (Parallax) เป็นการวัดระยะห่างระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์ โดยใช้หลักการของสามเหลี่ยมคล้าย โดยใช้รัศมีวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์เท่ากับ 1 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1 astronomy unit (au) คิดเป็นระยะทาง 149.6 ล้านกิโลเมตร เป็นเส้นฐานของสามเหลี่ยม แล้วรอให้โลกโคจรไปทำมุมฉากระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์ที่ต้องการวัด ก็จะมองเห็นดาวฤกษ์ที่ต้องการวัด ปรากฏตำแหน่งเปลี่ยนไปเป็นมุมเล็กๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มดาวที่อยู่ฉากหลังไกลออกไป ระยะทางที่ทำให้มุมแพรัลแลกซ์มีค่า 1 อาร์ควินาที (1/3600 องศา) เท่ากับ 1 พาร์เซก “Parsec” ย่อมาจาก Parallax Angle of 1 Arc Second คิดเป็นระยะทางเท่ากับ 206,265 AU หรือ 3.26 ปีแสง (ระยะทาง 1 ปีแสง หมายถึงระยะทางที่แสงเดินทางนาน 1 ปี คิดเป็นระยะทางเท่ากับ 9.5 ล้านล้านกิโลเมตร) อย่างไรก็ตาม หากมุมแพรัลแลกซ์เล็กกว่า 0.01 ฟิลิปดา (arcsecond) ก็จะขาดความเที่ยงตรง การวัดระยะทางด้วยวิธีแพรัลแลกซ์จึงใช้กับดาวที่อยู่ห่างไม่เกิน 100 พาร์เซก
ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player
คำอธิบาย: แฟลชนี้ใช้สำหรับการหาระยะทางด้วยมุมแพรัลแลกซ์โดยใช้สูตร
d = 1/π
โดยที่ d = ระยะทางจากโลกถึงดวงดาว (distance) หน่วยเป็นพาร์เซก (pc)
π = มุมแพรัลแลกซ์ (parallax angle) หน่วยเป็นฟิลิปดา (arcsecond หรือ ")
1 องศา (degree) = 60 ลิปดา (arcminute หรือ '), 1 ลิปดา = 60 ฟิลิปดา (arcsecond หรือ ")