H-R Diagram ประกอบด้วย แกนนอนแสดงอุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์ หรือ ดัชนีสี หรือ ประเภทสเปกตรัม (O B A F G K M) แกนตั้งแสดงโชติมาตรสัมบูรณ์ หรือ กำลังส่องสว่างของดาว โดยมีหน่วยเป็นจำนวนเท่าของดวงอาทิตย์ นอกจากนั้นสเกลเฉียงยังแสดงรัศมีของดาวตั้งแต่ 0.001 เท่าของดวงอาทิตย์ ไปจนถึง 1,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์แผนภาพแสดงตำแหน่งของดาว โดยการลงจุดแสดงสมบัติทางกายภาพของดาว ประชากรดาวส่วนใหญ่เรียงตัวจากมุมบนซ้ายมายังมุมล่างขวาของแผนภาพเรียกว่า “ลำดับหลัก” (Main sequence) ดาวที่อยู่ด้านบนขวาของลำดับหลักเป็น “ดาวยักษ์” (Giants) “และดาวยักษ์ใหญ่” (Supergiants) ดาวที่อยู่ด้านล่างของลำดับหลักเป็น “ดาวแคระ” (Dwarfs)
ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player
คำอธิบาย:
- กรอบบนซ้ายมือ (Size Comparison): แสดงการเปรียบเทียบขนาดของดาวฤกษ์ (star) กับ ดวงอาทิตย์ (sun)
- กรอบล่างซ้ายมือ (Cursor Properties): เลื่อนปุ่มสไลด์เพื่อกำหนดค่าอุณหภูมิ (temperature) และกำลังส่องสว่าง (luminosity) เครื่องจะคำนวณค่ารัศมี (R) ของดาวฤกษ์ให้ ค่าที่ได้เป็นรัศมีเปรียบเทียบกันดวงอาทิตย์ (
)
- กรอบขวามือ (H-R Diagram):
- Options
- x-axis scale: แกนนอนเลือกได้ 3 ตัวแปร
- temperature: อุณหภูมิ
- B-V color index: ดัชนีสี
- spectral type: ประเภทสเปกตรัม
- y-axis scale: แกนตั้งเลือกได้ 2 ตัวแปร
- กำลังส่องสว่าง (luminosity)
- โชติมาตรสัมบูรณ์ (magnitude)
- show main sequence: แสดงแนวดาวลำดับหลัก (ปกติคลิกไว้)
- show isoradius lines: แสดงเส้นที่รัศมีของดาวเท่ากัน (ปกติคลิกไว้)
- show luminosity classes: แสดงลำดับชั้นของการส่องสว่าง (ปกติคลิกไว้)
- show instability strip: แสดงช่วงที่ดาวมีความไม่เสถียร ใกล้หมดอายุขัย
- Plotted Stars
- no star: ไม่แสดงดาวฤกษ์
- the nearest stars: ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้มาก
- the brightest stars: ดาวฤกษ์ที่สว่างมาก
- the nearest and brightest stars: ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้มากและดาวฤกษ์ที่สว่างมาก
(ปกติคลิกไว้) - the overlap: แสดงเฉพาะดาวฤกษ์ที่ทั้งอยู่ใกล้และสว่างมาก