การเลื่อนทางแดงของกาแล็กซี

ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player 

คำอธิบาย: 

        นักดาราศาสตร์ศึกษาการขยายตัวของเอกภพโดยใช้ปรากฏการด็อปเปลอร์เป็นเครื่องมือ (Doppler Effect) เมื่อกาแล็กซีเคลื่อนที่ออกจากโลก รังสีที่กาแล็กซีแผ่ออกมาจะมีความยาวคลื่นมากกว่าความเป็นจริง ซึ่งเรียกว่า "การเลื่อนทางแดง" (Redshift)   การขยายตัวของเอกภพทำให้เกิดการเลื่อนทางแดงของกาแล็กซี กาแล็กซียิ่งอยู่ไกลก็ยิ่งมีค่าการเลื่อนทางแดงสูง เราสามารถคำนวณหาค่าการเลื่อนทางแดงได้โดยใช้สูตร

             z (redshift) = (λobserved - λemittedλemitted 

        โดย λobserved คือ ความยาวคลื่นที่ตรวจวัดได้ (เมื่อวัตถุมีการเคลื่อนที่)
              
λemitted คือ ความยาวคลื่นตามปกติ (เมื่อวัตถุไม่มีการเคลื่อนที่)

        นักดาราศาสตร์ทำการศึกษาความยาวคลื่นของกาแล็กซี โดยการถ่ายภาพผ่านฟิลเตอร์ 4 ชนิด ได้แก่ อัลตราไวโอเล็ต (U), แสงสีน้ำเงิน (B), แสงสีเขียว (V), แสงสีแดง (R) ท่านสามารถกดปุ่ม show filter details เพื่อแสดงพื้นที่ใต้กราฟของฟิลเตอร์แต่ละชนิด 

Comments