กฎระยะทางผกผันยกกำลังสอง



          ในการแผ่รังสี คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแผ่ออกจากจุดกำเนิดทุกทิศทุกทาง เปรียบเสมือนทรงกลมที่มีจุดกำเนิดเป็นจุดศูนย์กลาง โดยเมื่อพลังงานแพร่ออกไป ความเข้มของพลังงานจะลดลงไปเท่ากับหน่วยของระยะทางยกกำลังสอง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าระยะทางเพิ่มขึ้น 2 เท่า ความเข้มแสงจะลดลง 4 เท่า, ถ้าระยะทางเพิ่มขึ้น 3 เท่า ความเข้มแสงจะลดลง 9 เท่า เป็นต้น
ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player 

คำอธิบาย: แฟลชนี้ใช้สาธิตกฎระยะทางผกผันยกกำลังสอง 
  • สวิทซ์ด้านซ้ายมือ ควบคุมกำลังส่องสว่าง มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watts)
  • กล่องสี่เหลี่ยมด้านชวามือ เป็นเซนเซอร์วัดแสง ตัวเลขภายในกล่องสี่เหลี่ยมเป็นค่าพลังงานที่วัดได้ ตัวเลขภายนอก R = หมายถึงระยะห่างคิดเป็นจำนวนเท่าของรัศมี 
วิธีใช้: 
  1. เลื่อนเซนเซอร์ตัวบน ไปที่ยังระยะทางที่ต้องการ 
  2. เลื่อนเซนเซอร์ตัวล่าง ไปยังระยะทางที่ต้องการ
  3. เปลี่ยนเทียบสัดส่วนระยะทางที่ห่างกัน กับค่าพลังงานที่วัดได้จากเซนเซอร์ทั้งสองตัว 
ตัวอย่างที่ 1
  • เลื่อนเซนเซอร์ตัวบนไปที่ระยะ R = 1 อ่านค่ากำลังส่องสว่างได้ 1.989 Watts
  • เลื่อนเซนเซอร์ตัวล่างไปที่ระยะ R = 2 อ่านค่ากำลังส่องสว่างได้  0.498 Watts
  • จะพบว่า ระยะทางเพิ่มขึ้น 2 เท่า แต่กำลังส่องสว่างลดลง 4 เท่า 
Comments