อุณหภุมิในการก่อตัวของดาวเคราะห์

ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player 

        ดาวเคราะห์เกิดขึ้นจากการรวมตัวของอนุภาคขนาดเล็กในระบบสุริยะ ซึ่งก่อตัวสะสมกันด้วยแรงโน้มถ่วง เมื่อมวลมากแรงโน้มถ่วงก็จะมากขึ้นตาม ทำให้มีแรงดึงดูดอนุภาคเข้ามารวมกัน จนมีขนาดดังเช่นดาวเคราะห์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามองค์ประกอบของดาวเคราะห์แต่ละดวงไม่เหมือนกัน เนื่องจากอุณหภูมิในระบบสุริยะไม่เท่ากัน บริเวณศูนย์กลางที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จะมีอุณหภูมิสูงมาก จนสารที่มีจุดเดือดต่ำไม่สามารถอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้ดาวเคราะห์ชั้นในจึงเป็นดาวเคราะห์หินซึ่งมีองค์ประกอบเป็นทั้งโลหะและอโลหะ ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกจึงเป็นดาวเคราะห์แก๊ส หรือดาวพลูโตและดาวเคราะห์แคระอื่นๆ ที่อยู่ในแถบคอยเปอร์จึงเป็นดาวเคราะห์น้ำแข็ง  ซึ่งแฟลชนี้จะช่วยสาธิตให้่ท่านเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางจากดวงอาทิตย์ กับอุณหภูมิของสสารซึ่งใช้ในการก่อกำเนิดดาวเคราะห์ 

วิธีใช้งาน 
  • แกนนอน: ระยะทางจากดวงอาทิตย์ มีหน่วยดาราศาสตร์ (1 AU = ระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือ 149.6 ล้านกิโลเมตร)
  • แกนตั้ง: อุณหภูมิมีหน่วยเป็นเคลวิน 
  • เลื่อนปุ่มสไลด์ด้านล่าง เพื่อเลือกอุณหภูมิิที่ต้องการ วงกลมสีแดงจะแสดงดาวเคราะห์ที่มีพื้นผิวตามอุณหภูมิที่เลือก ขณะเดียวกัน เส้นสีแดงจะแสดงการเปลี่ยนสถานะของสสารที่ใช้รวมตัวเป็นดาวเคราะห์ โดยพื้นที่สีเขียวเป็นของแข็ง (Solid) พื้นที่สีฟ้าเป็นแก๊ส (Gas) 
          หมายเหตุ แบบจำลองนี้ไม่มีการแสดงสถานะของเหลว เนื่องจาก สสารมีช่วงอุณหภูมิของการเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวแคบมาก  ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่จึงมีองค์ประกอบหลักเป็นของแข็งหรือของเหลวเท่านั้น 

Comments