ปรากฏการณ์ด็อปเปลอร์ (Doppler Effect) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความยาวคลื่น เนื่องจากความสัมพัทธ์ระหว่างทิศทางการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดกับผู้สังเกตการณ์ ขณะที่แหล่งกำเนิดคลื่นกำลังเคลื่อนที่เข้าหา ผู้สังเกตการณ์จะได้รับคลื่นที่มีความถี่สูงขึ้นกว่าปกติ (ความยาวคลื่นสั้นลง) และเมื่อแหล่งกำเนิดคลื่นเคลื่อนที่ออก ผู้สังเกตการณ์จะได้รับคลื่นที่มีความถี่ต่ำกว่าปกติ (ความยาวคลื่นมากขึ้น) ยกตัวอย่าง เมื่อรถตำรวจเปิดไซเรนวิ่งเข้ามาหาเรา เราจะได้ยินเสียงไซเรนสูงขึ้น และเมื่อรถคันนั้นเคลื่อนที่ผ่านเราออกไป ก็จะได้ยินเสียงไซเรนต่ำลง
ต้องการภาพใหญ่ คลิกที่นี่, หากมองไม่เห็นดาวโหลด Flash Player
คำอธิบาย:
- กรอบนซ้าย: กราฟเปรียบเทียบ
- wave as emitted from source: คลื่นที่แหล่งกำเนิดแสง
- wave as detected by observer: คลื่นที่ผู้สังเกตการณ์มองเห็น
- กล่องขวาบน (controls): ปุ่มควบคุมการทดลอง
- start emission: เริ่มแผ่รังสี
- stop emission: หยุดแผ่รังสี
- pause simulation: หยุดการจำลองเหตุการณ์
- resume simulation: ดำเนินการต่อ
- rate: อัตราเร็วในการจำลองภาพ
- show paths: แสดงเส้นทางของแหล่งกำเนิดแสง (s) และผู้สังเกตการณ์ (o)
- กรอบล่าง: จอแสดงปรากฏการณ์ด็อปเลอร์ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ทางแสงระหว่างการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสงและผู้สังเกตการณ์
- วัตถุ (s) ย่อมาจาก resource หมายถึง แหล่งกำเนิดแสง
- วัตถุ (o) ย่อมาจาก observer หมายถึง ผู้สังเกตการณ์