มาตราธรณีกาล

        มาตราทางธรณีกาล (Geological time scale) นักธรณีวิทยาแบ่งเวลานับตั้งแต่โลกเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบันออกเป็นคาบเวลาจากใหญ่ไปเล็กได้แก่ บรมยุค (Eon), มหายุค (Era), ยุค (Period), สมัย (Epoch)  โดยทั้งหมดมี 3 บรมยุค (Eon) ดังภาพที่ 1 ได้แก่ 
    • อาร์คีโอโซอิค (Archaeozoic) เป็นบรมยุคแรกของโลก  
    • โพรเทอโรโซอิค (Proterozoic) เป็นภาษากรีก แปลว่า สิ่งมีชิวิตเพิ่งอุบัติขึ้น  
    • ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic) เป็นภาษากรีก แปลว่า มีสิ่งมีชีวิตปรากฏให้เห็น
ภาพที่ 1 บรมยุคทั้งสาม


        แม้ว่าเซลล์โพรคาริโอตจะเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์แรกของโลก ซึ่งอุบัติขึ้นในบรมยุคอาร์คีโอโซอิคเมื่อประมาณ 4,000 ล้านปีมาแล้ว แต่สายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ของมนุษย์เพิ่งอุบัติขึ้นเมื่อ 10,000 ปีที่ผ่านมาในบรมยุคฟาเนอโรโซอิค (Phanerozoic)  มหายุคเซโนโซอิก (Cenozoic) ยุคควอเทอนารี (Quaternary) สมัยโฮโลซีน (Holocene) ดังที่แสดงในตารางที่ 2
        

ตารางที่ 1 เวลาทางธรณีวิทยา
บรมยุค 
(Eon)
มหายุค 
(Era)
ยุค 
(Period)
เวลา
(ล้านปีก่อน)
เหตุการณ์
อาร์คีโอโซอิก
-
-
พรีแคมเบรียน
4,600
กำเนิดโลก
โพรเทอโรโซอิก
2,500
พืชและสัตว์ชั้นต่ำ กำเนิดออกซิเจน
ฟาเนอโรโซอิก
-
พาลีโอ
โซอิก
แคมเบรียน
545
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่ในทะเล
ออร์โดวิเชียน
490
หอยและปู ปลาไม่มีขากรรไกร
ไซลูเรียน
443
พืชบกใช้สปอร์ ปลามีขากรรไกร
ดีโวเนียน
417
แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พืชมีท่อ
คาร์บอนิเฟอรัส
354
ป่าผืนใหญ่ เกิดสัตว์เลื้อยคลาน
เพอร์เมียน
295
เฟิร์นและสน การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุด ทวีปใหญ่พันเจีย
เมโสโซอิก
ไทรแอสสิก
248
สัตว์เลื้อยคลานเลี้ยงลูกด้วยนม
จูแรสสิก
205
ไดโนเสาร์เฟื่องฟู นกพวกแรก
เครเทเชียส
144
พืชดอก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ในปลายยุค
เซโนโซอิก
เทอเชียรี
พาลีโอจีน
65
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่พันธุ์
นีโอจีน
24
ลิงยืนสองขา โฮโมอีเรกตัส
ควอเทอนารี
ไพลสโตซีน
1.8
เสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ
โฮโลซีน
0.01
มนุษย์โฮโมเซเปียนส์