แผนที่อากาศ

        แผนที่อากาศ เป็นแผนที่แสดงองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ข้อมูลต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากเครือข่ายสถานีตรวจอากาศผิวพื้นทั้งหลาย รวบรวมแล้วเขียนขึ้นเป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะนำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศที่จะเกิดขึ้น ดังตัวอย่างในภาพที่ 1 


ภาพที่ 1 แผนที่อากาศ

    ตัวอย่างสัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ ได้แก่ 
  • L ศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ เป็นบริเวณที่อากาศร้อนยกตัวทำให้เกิดเมฆ 
  • H ศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศสูง เป็นบริเวณที่อากาศเย็นแห้งแล้ว ฟ้าใส ไม่มีเมฆปกคลุม 
  • เส้นไอโซบาร์ (Isobar) เป็นเส้นโค้งที่ลากเชื่อมต่อบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน มีตัวเลขแสดงค่าความกดอากาศซึ่งมีหน่วยเป็น เฮคโตปาสคาล (hPa) กำกับไว้ 
  • แนวปะทะอากาศ (Front) เส้นอาร์คหนาทึบสีแดงมีเครื่องหมายวงกลม คือ แนวปะทะอากาศร้อน เส้นอาร์คหนาทึบสีน้ำเงินมีลิ่มสามเหลี่ยม คือ แนวปะทะอากาศเย็น เมืื่อแนวปะทะทั้งสองชนกันจะทำให้เกิดฝนตก 
  • ข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศภาคพื้น แสดงโดยสัญลักษณ์ดังตัวอย่างในภาพที่ 2 ซึ่งอธิบายได้ ดังนี้ 
    • วงกลม แสดงปริมาณเมฆปกคลุมเหนือสถานี สีขาว: ไม่มีเมฆ สีดำ: เมฆมาก
    • ลูกศร แสดงทิศทางลมที่พัดเข้าหาสถานี ขีดฉากที่ปลายลูกศรแสดงความเร็วลม ขีดยิ่งมาก ลมยิ่งแรง 
    • ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล แสดงด้วยตัวเลขขวามือด้านบน เป็นตัวเลขสามหลัก หมายถึง ตัวเลขท้ายสองหลักและทศนิยมหนึ่งหลัก (107 หมายถึง 1010.7 hPa) 
    • แนวโน้มของความกดอากาศเปรียบเทียบกับ 3 ชั่วโมงที่แล้ว แสดงด้วยตัวเลขทางด้านขวามือมีหน่วยเป็น hPa ค่า + หมายถึงความกดอากาศสูงขึ้น, ค่า - หมายถึงความกดอากาศต่ำลง 
    • อุณหภูมิจุดน้ำค้าง แสดงด้วยตัวเลขขวามือด้านล่าง 
    • ลักษณะอากาศ แสดงด้่วยสัญญลักษณ์อุตุนิยมวิทยาทางด้านขวามือ
    • อุณหภูมิอากาศ แสดงด้วยตัวเลขด้านซ้ายบน 

ภาพท่ี่ 2 สัญลักษณ์แสดงข้อมูลที่สถานีตรวจอากาศผิวพื้น

        ท่านสามารถดาวน์โหลดแผนที่อากาศได้ที่ http://www.tmd.go.th/weather_map.php