รหัสวิชา: iAstro 1 รายวิชา: ทรงกลมฟ้าและระบบสุริยะ ภาคการศึกษา: ต้น ชื่อหลักสูตร: การอบรมสาระการเรียนรู้ดาราศาสตร์และอวกาศผ่านอินเทอร์เน็ต จำนวนชั่วโมงเรียน: 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เนื้อหารายวิชา: 10101 ทรงกลมฟ้า 10102 กลุ่มดาว 10103 จักราศี 10104 การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ 10105 กฎเกี่ยวกับวงโคจร 10106 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 10107 ดวงอาทิตย์ 10108 ดาวเคราะห์ 10109 วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ 10110 กล้องโทรทรรศน์ 10111 ดูดาวภาคสนาม การวัดผลการเรียน: - งานที่มอบหมาย 50% - คำถามท้ายบทเรียน 50%
คำอธิบายรายวิชา- ทรงกลมฟ้า (10101)
มุมทิศและมุมเงย เส้นสมมติบนทรงกลมฟ้า การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าเนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง - กลุ่มดาว (10102) ความหมายของกลุ่มดาว การสังเกตกลุ่มดาวสว่าง แผนที่ดาววงกลม ซอฟต์แวร์ท้องฟ้าจำลอง
- สุริยวิถี (10103)
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า สุริยวิถีและกลุ่มดาวจักราศี การเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้าเนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความแตกต่างระหว่างดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ - การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ (10104)
นิยามของดาวเคราะห์ ความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อจักรวาล ศูนย์กลางของระบบสุริยะ การค้นพบของกาลิเลโอ - กฎเกี่ยวกับวงโคจร (10105)
กฎของเคปเลอร์ กฎของนิวตัน กฎความโน้มถ่วงของเอกภพ แรงดึงดูดระหว่างดวงดาว ความสัมพันธ์ระหว่างมวลสารและความโค้งของอวกาศ - ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ (10106)
กลางวันกลางคืน, ฤดูกาล, สุริยุปราคา, จันทรุปราคา, ข้างขึ้นข้างแรม และ น้ำขึ้นน้ำลง - ดวงอาทิตย์ (10107)
กำเนิดระบบสุริยะ โครงสร้างภายในของดวงอาทิตย์ ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็ก และลมสุริยะ - ดาวเคราะห์ (10108)
การจำแนกประเภทดาวเคราะห์ คุณสมบัติทางกายภาพของดาวเคราะห์แต่ละดวง - วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (10109)
ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต - กล้องโทรทรรศน์ (10110)
หลักการของกล้องโทรทรรศน์ กล้องโทรทรรศน์ประเภทต่างๆ ระบบขาตั้งกล้องโทรทรรศน์ - ดูดาวภาคสนาม (10111)
ดูดาวภาคปฏิบัติ ฝึกการใช้แผนที่ดาวและกล้องโทรทรรศน์ สังเกตการณ์ดวงอาทิตย์
|