รัศมีของดาว

        ดาวฤกษ์อยู่ไกลมาก เราไม่สามารถวัดขนาดของดาวฤกษ์ด้วยวิธีตรง นักดาราศาสตร์คำนวณขนาดรัศมีของดาวฤกษ์ โดยการนำกำลังส่องสว่างและอุณหภูมิพื้นผิวของดาวมาเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์  ในขั้นตอนแรกนักดาราศาสตร์จะใช้ CCD บันทึกภาพและตรวจนับโฟตอนที่มากับแสงดาว   จากนั้นจะหาค่าความยาวคลื่นเข้มที่สุดที่ดาวแผ่รังสีออกมา เพื่อคำนวณหาค่าอุณหภูมิพื้นผิวของดาวด้วยกฎของวีน ดังตัวอย่างที่ 1

ตัวอย่างที่ 1:     ดาวหัวใจสิงห์มีความยาวคลื่นเข้มสุด (λmax) 181.25 nm  จะมีอุณหภูมิพื้นผิวเท่าไร 
                                     T = 0.0029 /max 
                                        = 0.0029 / 181.25 x 10-9
                                        = 16,000 K  

        เมื่อเราทราบอุณหภูมิพื้นผิวของดาวแล้ว ก็นำค่าที่ได้มาแทนที่สูตรตามกฎของสเตฟาน-โบลทซ์มานน์ เพื่อหาความเข้มของพลังงาน และรัศมีของดาวดังนี้

  1. กฎความเข้มพลังงานของสเตฟาน-โบลทซ์มานน์:          Flux = σT4    
  2. สูตรกำลังส่องสว่าง:                                                    L = 4πdb  
  3. ใช้รัศมีของดาว R แทนระยะทาง d, แทนค่า σT4 แทน b
    เนื่องจากความสว่างของดาวก็คือความเข้มของพลังงาน:     L  = 4πRσT4 
  4. กลับข้างสูตรเพื่อหาค่ารัศมี:                                              R2 = L / 4πσT4

        เมื่อนำรัศมีของดาวฤกษ์ (สูตรข้อ 4) มาเปรียบเทียบกับรัศมีของดวงอาทิตย์จะได้สูตร 


 โดยที่       R/RSun = รัศมีของดาวฤกษ์เปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์  
                T/TSun = อุณหภูมิของดาวฤกษ์เปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ 
                L/LSun = อัตราส่วนกำลังส่องสว่างของดาวฤกษ์เปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ 

ตัวอย่างที่ 2 ดาวหัวใจสิงห์ มีค่าความสว่าง L = 140 LSun มีอุณหภูมิพื้นผิว T = 16,000 K   รัศมีมีขนาดกี่เท่าของดวงอาทิตย์


รัศมีของดาวหัวใจสิงห์มีขนาด 
1.55 เท่า ของดวงอาทิตย์