สมบัติของดาวฤกษ์

        ดาวฤกษ์ที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นรูปกลุ่มดาว อยู่ห่างจากโลกประมาณ 4 - 1500 ปีแสง  นักดาราศาสตร์ทำการศึกษาดาวฤกษ์ได้โดยการวิเคราะห์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ดาวแผ่ออกมา เพื่อให้ได้ทราบสมบัติ ดังนี้ 

    • ระยะห่างของดาว: ใช้กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ตรวจวัดมุมแพรัลแลกซ์ เรียกว่า "กระบวนการแอสโตรเมทรี" (Astrometry)
    • โชติมาตร: บันทึกแสงของดาวด้วย CCD แล้วคำนวณเปรียบเทียบอันดับความสว่าง เรียกว่า 
      "กระบวนการโฟโตเมทรี" (Photometry)
    • กำลังส่องสว่าง: แปรผันตรงตามความสว่าง แต่แปรผกผันกับระยะห่างของดาว
    • สเปกตรัม: แยกแแสงดาวของดาวด้วยสเปกโตรมิเตอร์ เรียกว่า "กระบวนการสเปกโตรสโคปี" (Spectroscopy)
    • องค์ประกอบทางเคมี: ได้จากการวิเคราะห์เส้นดูดกลืนและเส้นแผ่รังสีของสเปกตรัม 
    • ทิศทางการเคลื่อนที่และความเร็วเชิงเรเดียน: ได้จากการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ด็อปเปลอร์ 
    • อุณหภูมิ: ได้จากการวิเคราะห์กราฟแสง หาค่าความยาวคลื่นเข้มสุด (λmax) ด้วยกฎการแผ่รังสีของวีน (Wien’s displacement Law)
    • รัศมีของดาว: ได้จากการแทนค่ากำลังส่องสว่างและอุณหภูมิชองดาว ตามกฏความเข้มพลังงานของสเตฟาน-โบลทซ์มานน์  (Stefan – Boltzmann Law)
    • มวลของดาว: ได้จากการคำนวณความสัมพันธ์​ระหว่างคาบวงโคจรและระยะห่างระหว่างดาวสองดวงในระบบดาวคู่ 
        สาระการเรียนรู้