ดาวเคราะห์แคระ

        ในปัจจุบันเทคโนโลยีของกล้องโทรทรรศน์ก้าวหน้ามาก มีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่บนพื้นโลก และส่งกล้องโทรทรรศน์ขึ้นไปอยู่ในอวกาศเพื่อให้ได้ภาพชัดไม่มีอุปสรรคจากอากาศ นอกจากนั้นยังมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุขนาดเล็กที่มีอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้มีการค้นพบวัตถุในแถบคอยเปอร์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโตเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ซีนา เอริส เซดนา วารูนา เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเราจะนับวัตถุพวกนี้เป็นดาวเคราะห์ด้วย ระบบสุริยะของเราจะมีดาวเคราะห์หลายสิบดวง  ดังนั้นในปี พ.ศ.2549 สมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) จึงประกาศนิยามใหม่ของดาวเคราะห์และวัตถุที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 


        
    
    1. ดาวเคราะห์ (Planet) หมายถึง เทหวัตถุที่มีสมบัติต่อไปนี้
    • โคจรรอบดวงอาทิตย์  
    • มีมวลมากพอที่จะแรงโน้มถ่วงของดาวสามารถเอาชนะความแข็งของเนื้อดาว ส่งผลให้ดาวอยู่ในสภาวะสมดุลไฮโดรสแตติก (hydrostatic equilibrium) เช่น ทรงกลม หรือเกือบกลม 
    • มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ชัดเจน
    • ไม่เป็นบริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น
        2. ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet) หมายถึง เทหวัตถุที่มีสมบัติดังต่อไปนี้ครบถ้วน  
    • คจรรอบดวงอาทิตย์ 
    • มีมวลมากพอที่จะแรงโน้มถ่วงของดาวสามารถเอาชนะความแข็งของเนื้อดาว ส่งผลให้ดาวอยู่ในสภาวะสมดุลไฮโดรสแตติก (hydrostatic equilibrium) เช่น ทรงกลม หรือเกือบกลม 
    • มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ไม่ชัดเจน
    • ไม่เป็นบริวารของดาวเคราะห์ดวงอื่น

        3. วัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ (Small Solar-System Bodies) หมายถึง เทหวัตถุอื่นๆ นอก

เหนือจากที่กล่าวไปแล้ว          



ภาพที่ 1 ดาวเคราะห์แคระที่พบในแถบคอยเปอร์ (ที่มา: NASA, JPL)

        ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดาวพลูโตถูกลดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากมีวงโคจรเป็นรูปวงรีบางส่วน ซ้อนทับวงโคจรของดาวเนปจูน  ส่วนดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดคือดาวซีรีสถูกยกระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ เพราะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีรูปร่างทรงกลมดังภาพที่ 2


ภาพที่ 2 เปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์แคระกับโลกและดวงจันทร์ 
(ที่มา: NASA, JPL)


        หากพิจารณาดูจะพบว่า ดาวเคราะห์แคระตามนิยามใหม่นั้นมี 2 ประเภท คือ ดาวเคราะห์แคระที่เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ เช่น ซีรีส เวสตา พัลลาส มีวงโคจรอยู่ในแถบเข็มขัดดาวเคราะห์น้อยระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี และดาวเคราะห์แคระที่เป็นวัตถุไคเปอร์ซึ่งถูกเพิ่งค้นพบใหม่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพลูโต และมีวงโคจรถัดจากดาวเนปจูนออกไป ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 วงโคจรของดาวเอริส (2003UB313) เปรียบเทียบกับดาวพลูโต 

(ที่มา: http://web.gps.caltech.edu/~mbrown/planetlila)




ตารางที่ 1 รายชื่อดาวเคราะห์แคระขนาดใหญ่ 

(ที่มา: http://web.gps.caltech.edu/~mbrown/dwarfplanets)

ชื่อ

ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ (AU)

ขนาด (km)

ดาวพุธ

0.39

4,880

ดาวศุกร์

0.72

12,100

โลก

1.0

12,700

ดาวอังคาร

1.5

6780

ซีรีส

2.8

950

ดาวพฤหัสบดี

5.2

139,800

ดาวเสาร์

9.6

116,500

ดาวยูเรนัส

19.2

50,700

ดาวเนปจูน

30.0

49,200

ออร์คัส

39.34

1,100

พลูโต

39.53

2,300

อิกเซียน

39.65

980

วารูนา

42.90

780

2003EL61

43.31

2,000

ควออาร์

43.58

1,290

2005FY9

45.66

1,600

เอริส

67.69

2,400

เซดนา

486.0

1,800


หน้าเว็บย่อย (1): ดาวพลูโต