กาแล็กซี (Galaxy) หรือ ดาราจักร หมายถึง อาณาจักรของดาว กาแล็กซีหนึ่งๆ ประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และดาวฤกษ์และดาวเคราะห์หลายแสนล้านดวง กาแล็กซีมีขนาดประมาณหมื่นล้านถึงแสนล้านปีแสง กาแลกซีของเราชื่อ “ทางช้างเผือก” (The Milky Way Galaxy) ที่มีชื่อเช่นนี้เป็นเพราะ คนไทยถือว่ากษัตริย์เป็นเทวดาซึ่งอวตารมาจากสรวงสวรรค์ ช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บุญบารมีของกษัตริย์ ทางช้างเผือกจึงปรากฎอยู่บนท้องฟ้าซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดาและนางฟ้า ส่วนชาวตะวันตกก็มีตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้าเช่นกัน จึงมองเห็นเป็นทางน้ำนมไหลพาดผ่านท้องฟ้า ปัจจุบันเราอนุมานว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกมีขนาดประมาณหนึ่งแสนปีแสง เนื่องจากโลกของเราอยู่ภายในทางช้างเผือก จึงมองเห็นทางช้างเผือกเป็นทางสว่างพาดผ่านท้องฟ้าเป็นฝ้าสีขาวดังภาพที่ 1 การศึกษาโครงสร้างของทางช้างเผือก จำเป็นต้องศึกษาจากภายในออกมา จึงทำให้มองเห็นภาพรวมได้ยาก ดังนั้นการศึกษากาแล็กซีอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายนอก จึงช่วยให้เราเข้าใจกาแล็กซีของตัวเองมากขึ้น ภาพที่
1 ทางช้างเผือก
แต่โบราณกาลมนุษย์เข้าใจว่า ทางช้างเผือกเป็นปรากฏการณ์ภายในบรรยากาศโลกเช่นเดียวกับเมฆ หมอก และรุ้งกินน้ำ จนกระทั่งคริสตศตวรรษที่ 18 ได้มีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่จึงทราบว่า ทางช้างเผือกประกอบด้วยดวงดาวจำนวนมากมายมหาศาล เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (Sir William Herschel) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส ได้ทำการสำรวจความหนาแน่นของดาวบนท้องฟ้าและวาดภาพว่า ดวงอาทิตย์อยู่ตรงใจกลางของทางช้างเผือก ดังตำแหน่งสามเหลี่ยมในภาพที่ 2 ภาพที่ 2 ภาพวาดทางช้างเผือกของเฮอร์เชล หนึ่งศตวรรษต่อมา ฮาร์โลว์ แชพลีย์ (Harlow Shapley) ทำการวัดระยะทางของ
กระจุกดาวทรงกลมซึ่งห่อหุ้มกาแล็กซี
โดยใช้ความสัมพันธ์คาบ-กำลังส่องสว่างของดาวแปรแสงแบบ
RR Lyrae ที่อยู่ในกระจุกดาวทรงกลมทั้งหลาย
เขาพบว่ากระจุกดาวเหล่านี้อยู่ห่างไปจากโลกนับหมื่นปีแสง กระจายตัวอยู่รอบล้อมส่วนป่องของกาแล็กซี
ดังนั้นดวงอาทิตย์ไม่น่าจะอยู่ตรงใจกลางของทางช้างเผือก แต่อยู่ที่ระยะห่าง 3 ใน 5 ของรัศมีกาแล็กซี ดังแสดงในภาพที่ 3 ภาพที่
3 โครงสร้างของกาแล็กซีทางช้างเผือก
กาแล็กซีทางช้างเผือก
เป็นกาแล็กซีแบบกังหัน
มีดาวฤกษ์ประมาณแสนล้านดวง มีมวลรวมประมาณ 9
หมื่นล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์
แบ่งเป็น 3 ส่วน
ดังนี้
การศึกษาทางช้างเผือกทำจากด้านในออกไป จึงยากที่จะเข้าใจภาพรวมว่า กาแล็กซีของเรามีรูปร่างหน้าตาอย่างไร นอกจากนั้นระนาบของทางช้างเผือกยังหนาแน่นไปด้วยดาว ฝุ่น และแก๊ส เป็นอุปสรรคกีดขวางการสังเกตการณ์ว่า อีกด้านหนึ่งของกาแล็กซีเป็นอย่างไร อุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาโครงสร้างของกาแล็กซีได้ดีที่สุดก็คือ กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรด (ภาพที่ 5) เนื่องจากเป็นคลื่นยาวซึ่งสามารถเดินทางผ่านกลุ่มแก๊สและฝุ่นได้ ภาพที่ 5 ภาพถ่ายอินฟราเรดของกาแล็กซีทางช้างเผือก
ปัจจุบันเชื่อกันว่า
ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางของกาแล็กซีประมาณ
30,000 ปีแสง
และหมุนรอบศูนย์กลางไปตามแขนนายพราน
ด้วยความเร็ว 220 กิโลเมตรต่อวินาที
หนึ่งรอบใช้เวลา 240
ล้านปี
ดวงอาทิตย์มีอายุ 4,600
ล้านปี
จึงโคจรรอบกาแล็กซีมาแล้วเกือบ
20 รอบ
นักดาราศาสตร์ใช้กฎเคปเลอร์ข้อที่
3
คำนวณหามวลรวมของทางช้างเผือกภายในวงโคจรของดวงอาทิตย์ได้
9 x 1010 เท่าของดวงอาทิตย์
จากนั้นทำการตรวจวัดมวลของกาแล็กซีด้านนอกของวงโคจรดวงอาทิตย์เพิ่มเติม
โดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุพบว่า มวลทั้งหมดของกาแล็กซีทางช้างเผือกควรจะเป็น 7.75 x 1011 เท่าของดวงอาทิตย์
ในจำนวนนี้เป็นดาวฤกษ์
ดาวเคราะห์ แก๊ส และฝุ่น
ที่สังเกตได้โดยตรงด้วยแสงเพียง
10% ฉะนั้นมวลสารส่วนใหญ่ของกาแล็กซีอีก
90%
เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ซึ่งอาจจะเป็นหลุมดำขนาดเล็ก ดาวที่เย็นมาก
หรืออนุภาคขนาดเล็กจำนวนมาก
นักดาราศาสตร์จึงเรียกวัตถุเหล่านี้โดยรวมว่า
“สสารมืด” (Dark Matter)
|
ดาราศาสตร์ > กาแล็กซี >