พิกัดขอบฟ้า

        พิกัดขอบฟ้า (Horizontal coordinates) เป็นระบบพิกัดซึ่งใช้ในการวัดตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า โดยถือเอาตัวของผู้สังเกตเป็นศูนย์กลางของทรงกลมฟ้า โดยมีจุดและเส้นสมมติบนทรงกกลมฟ้าแสดงในภาพที่ 1 
    • ทิศทั้งสี่ ประกอบด้วย ทิศเหนือ (North) ทิศตะวันออก (Earth) ทิศใต้ (South) ทิศตะวันตก (West) เมื่อหันหน้าเข้าหาทิศเหนือ ด้่านหลังเป็นทิศใต้ ซ้ายมือเป็นทิศตะวันตก ขวามือเป็นทิศตะวันออก
    • จุดเหนือศีรษะ (Zenith) เป็นตำแหน่งสูงสุดของทรงกลมฟ้า ซึ่งอยู่เหนือผู้สังเกต 
    • จุดใต้เท้า (Nadir) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของทรงกลมฟ้า ซึ่งอยู่ใต้เท้าของผู้สังเกต   
    • เส้นขอบฟ้า (Horizon) หมายถึง แนวเส้นขอบท้องฟ้าซึ่งมองเห็นจรดพื้นราบ หรืออีกนัยหนึ่งคือ  เส้นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่อยู่ห่างจากจุดเหนือศีรษะ ทำมุม 90

      °

       กับแกนหลักของระบบขอบฟ้า 
    • เส้นเมอริเดียน (Meridian) เป็นเส้นสมมติบนทรงกลมฟ้าในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งลากผ่านจุดเหนือศีรษะ


 ภาพที่ 1 ระบบพิกัดขอบฟ้า 

        การวัดมุมในระบบพิกัดขอบฟ้าประกอบด้วย มุมทิศ​ และ มุมเงย
    • มุมทิศ (Azimuth)​ เป็นมุมในแนวราบ ซึ่งวัดจากทิศเหนือ (0

      ° 

      ) ไปตามเส้นขอบฟ้าในทิศตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก (90

      °

      ) ทิศใต้ (180

      °

      ) ทิศตะวันตก (270

      °

      ) และกลับมาที่ทิศเหนือ (360

      °

      ) อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นมุมทิศจึงมีค่าระหว่าง (0

      ° - 36

      0

      °

    • มุมเงย (Altitude) เป็นมุมในแนวดิ่ง ซึ่งนับจากเส้นขอบฟ้า (0

      °) สูงขึ้นไปจนถึงจุดเหนือศีรษะ (90

      °

      )  ดังนั้นมุมเงยจึงมีค่าระหว่าง (0

      ° - 9

      0

      °

       
        เมื่อมองดูตำแหน่งดาวในภาพที่ 2 จะเห็นว่า ดาวมีพิกัดขอบฟ้า มุมทิศ 250

° มุมเงย 4

5

° 

ทั้งนี้ในการวัดระยะห่างของดาวบนท้องฟ้าจะเป็นระยะเชิงมุม



ภาพที่ 2 การวัดมุมทิศ-มุมเงย

หน้าเว็บย่อย (1): ระยะเชิงมุม