พิกัดศูนย์สูตร

        พิกัดศูนย์สูตร (Equatorial coordinates) เป็นระบบพิกัดซึ่งใช้ในการวัดตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า โดยถือเอาการเคลื่อนที่ของทรงกลมฟ้าเป็นสิ่งอ้างอิง โดยกำหนดจุดและเส้นสมมติในระบบพิกัด ดังนี้ 
  • จุดขั้วฟ้าเหนือ (North Celestial Pole) เป็นจุดศูนย์กลางการหมุนของทรงกลมฟ้าทางด้านทิศเหนือ (เกิดจากการต่อแกนหมุนของโลกขึ้นไปบนท้องฟ้า) 
  • จุดขั้วฟ้าใต้ (South Celestial Pole) เป็นจุดศูนย์กลางการหมุนของทรงกลมฟ้าทางด้านทิศเหนือ (เกิดจากการต่อแกนหมุนของโลกขึ้นไปบนท้องฟ้า) 
  • เส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestial Equatorial) หมายถึงเส้นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้า ซึ่งเกิดจากการต่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกขึ้นไปบนฟ้า ดังนั้นระนาบศูนย์สูตรฟ้าจึงตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก 
  • เส้นสุริยวิถี (Ecliptic) เป็นเส้นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้า ซึ่งเป็นระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทั้งนี้ระนาบสุริยวิถีจะเอียงทำมุม 23.5

    °

     กับระนาบศูนย์สูตร เนื่องจากแกนหมุนของโลกเอียง  23.5

    °

     ขณะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ 
  • วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เป็นจุดตัดที่ 1 ของเส้นศูนย์สูตรฟ้ากับเส้นสุริยวิถี 
  • ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เป็นจุดตัดที่ 2 ของเส้นศูนย์สูตรฟ้ากับเส้นสุริยวิถี 




ภาพที่ 1 พิกัดศูนย์สูตร

  • ไรต์แอสเซนชัน (Right Ascension หรือ RA) เป็นเส้นสมมติตามแนวเหนือ-ใต้ บนทรงกลมฟ้า เปรียบเทียบคล้ายกับ เส้นแวง (Longitude) บนทรงกลมโลก  เส้นไรต์แอสเซนชัน แบ่งโดยใช้อัตราการหมุนรอบตัวเองของโลก 1 รอบ จึงมีหน่วยเป็นชั่วโมง โดยมีเส้นชั่วโมง 24 เส้น แต่ละเส้นห่างกันเป็นมุม 15

    °

     (24 x 15

    °

     = 360

    °

    ) โดยเส้นแรกเริ่มต้นที่จุดวสันตวิษุวัติในกลุ่มดาวปลา เส้นชั่วโมงถัดไปอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออก 15

    °  

    ไรต์แอสเซนชันมีค่าระหว่าง 0 - 24 ชั่วโมง 

    แต่ละชั่วโมง (Hour) มี

     60 นาที (Minute) แต่ละนาทีมี 60 วินาที (Second)   

  • เดคคลิเนชัน (Declination หรือ Dec) เป็นเส้นสมมติตามแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า คล้ายกับเส้นรุ้ง (Latitude) บนทรงกลมโลก  เดคลิเนชันเป็นการวัดระยะห่างเชิงมุมจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปยังจุดขั้วฟ้าเหนือมีค่า 0

    °

     จนถึง +90

    °

     ส่วนเดคลิเนชันในการวัดระยะห่างเชิงมุมจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปยังจุดขั้วฟ้าใต้มีค่า 0

    °

     จนถึง -90

    ° 

    แต่ละองศา (Degree) มี

     60 อาร์คนาที (Arcminute) แต่ละอาร์คนาทีมี 60 อาร์ควินาที (Arcsecond)   
            ตัวอย่างในภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่า 
      • วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) อยู่ที่พิกัด RA 0 ชั่วโมง, Dec 0

        °

      • ดวงอาทิตย์อยู่ที่พิกัด RA 4 ชั่วโมง , Dec
         +10

        °

          



    ภาพที่ 2 พิกัด RA และ Dec
     
             หมายเหตุ: การดูดาวด้วยกล้องโทรทรรศน์และการถ่ายรูปทางดาราศาสตร์ ใช้ระบบพิกัดศูนย์สูตรอ้างอิงกับกลุ่มดาวบนท้องฟ้า เนื่องจากทรงกลมฟ้าเคลื่อนที่ตลอดเวลา